dc.contributor.author | เจนวิทย์ นวลแสง | |
dc.contributor.author | ภัทราภรณ์ เกษตรสาระ | |
dc.contributor.author | อชิรญา ภู่พงศกร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:23:22Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:23:22Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3356 | |
dc.description.abstract | ในปี ค.ศ. 1976 ประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความสนใจและมีการเคลื่อนไหวในเรื่องของการคุกคามทางเพศอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากนั้นไม่นานสหราชอาณาจักรประเทศที่มีการขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าวในปี ค.ศ. 1981-1982 ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้การป้องสาวการคุกคามทางเพศได้ถูกกำหนดเป็นนโยบายอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1980 ไม่มีผลต่อความคิดเห็นในทางกฎหมายในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในท้ายที่สุด สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้กำหนดให้การคุกคามทางเพศเป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย และมีการออกระเบียบ รวมทั้งมาตรการคุ้มครองเงินอื่นๆอีกมากมายตามมา เพื่อพิทักษ์สิทธิและให้การคุ้มครองผู้เสียหายจากการจัดการทางเพศ ในเวลาต่อมา กฎหมายเกี่ยวกับการป้องปรามการคุกคามทางเพศและการคุ้มครองผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการคุกคามทางเพศของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้มีอิทธิพลต่อความคิดและการบัญญัติกฎหมายในหลายประเทศ เช่น ในประเทศออสเตรเลียได้บัญญัติให้การคุกคามทางเพศเป็นความผิดทางกฎหมายระดับสหพันธรัฐออสเตรเลีย โดยการบัญญัติไว้ใน Sex Discrimination Act 1984 ซึ่งเป็นกฎหมายระดับสหพันธรัฐโดยมีผลบังคับใช้กับทุกมลรัฐในประเทศออสเตรเลีย หรือแม้กระทั่งสาธารณรัฐเยอรมนี ก็ได้ให้ความสำคัญกับการคุกคามทางเพศเมื่อตั้งแต่ปี พ. ศ. 2549 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก Charter of Fundamental Right of European Union และ EU Directive ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเรียนกฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองแรงงานและ General Equal Treatment Act ที่บังคับใช้ภายในประเทศ และทำให้เกิดการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็นไปในลักษณะที่เป็นคุณแก่ผู้เสียหายเป็นสำคัญ สำหรับประเทศไทยแล้วถือว่า การคุกคามทางเพศ ( Sexual Harassment ) เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ในสังคม ทั้งที่ความเป็นจริง การคุกคามทางเพศมีอยู่ในสังคมไทยมาเนิ่นนาน ทั้งนี้ กระแสต่อต้านการคุกคามทางเพศที่ปรากฏเด่นชัดในประเทศไทยเริ่มต้นจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิสตรีและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ได้เคลื่อนไหวและออกโรงให้สังคมรับรู้ถึงการคุกคามทางเพศและผลกระทบจากการคุกคามทางเพศในปี พ. ศ. 2523 ได้มีการขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ประเด็นการคุกคามทางเพศก็ไม่อยู่ในกระแสความสนใจของสังคมไทยในขณะนั้นเท่าที่ควร จวบจนกระทั่งใน ปี พ.ศ. 2531 ได้มีตัวแทนฝ่ายผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้างเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการคุกคามทางเพศชัดเจนยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ขึ้นในปี พ. ศ. 2541 โดยเนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นพิธีการคุ้มครองแรงงานหญิงและเด็กจากการถูกคุกคามทางเพศของนายจ้าง แต่อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ยังขาดมาตรการที่ชัดเจนในการให้ความคุ้มครอง การป้องกัน และการเยียวยาความเสียหายทั้งทางจิตใจและทางร่างกายให้แก่เหยื่อที่ถูกคุกคามทางเพศ อีกครั้งการลูกค้าทางเพศก็ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกรณีนายจ้างกระทำต่อลูกจ้างเท่านั้น แต่การคุกคามทางเพศอาจเกิดขึ้นระหว่างผู้บังคับบัญชาตอบได้ไหมครับบัญชาในหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ การคุกคามทางเพศในองค์กรภาคเอกชน การคุกคามทางเพศระหว่างบุคคลในครอบครัว การคุกคามทางเพศในสถานศึกษา หรือแม้กระทั่งการคุกคามทางเพศในสถานพยาบาล เป็นต้น กฎหมายดังกล่าวเมื่อนำมาบังคับใช้แล้ว กลับไม่สามารถป้องปรามและทำให้ปัญหาการปกครองตามเพศลดลงได้ ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นที่มาของบทความวิชาการชิ้นนี้ ที่ผู้เขียนต้องการศึกษาและนำเสนอถึงปัญหาในการบัญญัติกฎหมายเพื่อป้องปรามการคุกคามทางเพศของไทยในปัจจุบัน โดยมุ่งพิจารณาปัญหาซึ่งเกิดจากการบัญญัติกฎหมายที่ไม่ชัดเจนและครอบคลุมถึงรูปแบบการคุกคามทางเพศที่แท้จริง บทความชิ้นนี้จึงมุ่งเน้นที่จะนำเสนอถึงรูปแบบของการคุกคามทางเพศและปัญหา รวมทั้งนำเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมายแพ่งและกฎหมายของสหพันธรัฐเยอรมนี และเครือรัฐออสเตรเลีย และนำเสนอถึงปัญหาที่เกิดจากการบัญญัติกฎหมายซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงรูปแบบการคุกคามทางเพศอย่างแท้จริง ทำให้ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ในการป้องปรามแล้วจำนวนการคุกคามทางเพศลงแต่อย่างใด พระที่สุดบทความชิ้นนี้จะนำเสนอแนะแนวทางในการบัญญัติกฎหมายรวมทั้งแนวทางในการเยียวยาความเสียหายให้แก่เหยื่อที่ถูกคุกคามทางเพศ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การคุกคามทางเพศ | th_TH |
dc.subject | ความรับผิดทางอาญา | th_TH |
dc.subject | ผู้เสียหาย | th_TH |
dc.subject | สาขานิติศาสตร์ | th_TH |
dc.title | ความรับผิดทางอาญาและการเยียวยาผู้เสียหายจากการคุกคามทางเพศ ศึกษากรณี ประเทศไทย สหพันธรัฐเยอรมนี และเครือรัฐออสเตรเลีย | th_TH |
dc.title.alternative | Criminal liability and victim compensate from sexual harassment in case study of Thailand Federal Republic of Germany and Australia | en |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 8 | |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | Laws relating to prevention of sexual harassment and protection of victims from sexual harassment in the United States of America and the United Kingdom have affected to though and law enactment in many countries. In Australia, sexual harassment is an offence in the Federal Law. Sexual harassment is regulated in the Sex Discrimination Act 1984 which is one of the Federal Law. Thus, this Act applies to every States in Australia. In Federal Republic of Germany, sexual harassment is an interesting issue since B.E. 2549. This is due to the fact that the Charter of Fundamental Rights of European Union and EU Directive were developed to the criminal law, law of employment and the General Equal Treatment Act which was applied in the country. Adjudication and court's judgment also consider and protect rights of victims. In Thailand, it deems that the sexual harassment is a new issue arising in the society. In fact, the sexual harassment has been arisen in Thailand for so long. Resistance to sexual harassment took place in Thailand starting from an organization for development of woman and human rights. The organization campaigned against sexual harassment and published effects from sexual harassment in B.E. 2523 and there was movement against such issue continuously. However, Thai was not interested in an issue of sexual harassment at that time until B.E. 2531. In B E. 2531, there were representatives from employees taking part in a campaign against sexual harassment more explicitly. As a result, the Employee Protection Act was enacted in B.E. 2541. This Act focuses on protection of women and children employees from sexual harassment of employers However; this Act lacks clear measures for protection, prevention and remedy for damages both in mind and body of victims from sexual harassment. However, sexual harassment does not occur only in a case in which employers commit sexual harassment to employees; but, the sexual harassment may arise between supervisors committing sexual harassment to subordinates in a government agency or a state enterprise, sexual harassment in a private organization, sexual harassment between family members, in school or in hospital. Nevertheless, the Act mentioned above cannot prevent and reduce problems arising from sexual harassment. Consequently, this article addresses and presents problems from enactment of law in order to prevent sexual harassment in Thailand. This article focuses especially on problems relating to insufficient law enactment and also forms of sexual harassment. This article is going to present forms and problems of sexual harassment including related law in Thailand, Federal Republic of Germany and Australia and also propose problems resulting from unclear provisions. The achievement for prevention of sexual harassment may not be reached. Sexual harassment does not reduce. Finally, this article is going to provide recommendation for law enactment including guidelines of remedies for the damages of the victims from sexual harassment. | en |
dc.journal | วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย = Journal of politics, administration and law | |
dc.page | 325-368 |