Abstract:
ในปี ค.ศ. 1976 ประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มให้ความสนใจและมีการเคลื่อนไหวในเรื่องของการคุกคามทางเพศอย่างเป็นรูปธรรม หลังจากนั้นไม่นานสหราชอาณาจักรประเทศที่มีการขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าวในปี ค.ศ. 1981-1982 ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้การป้องสาวการคุกคามทางเพศได้ถูกกำหนดเป็นนโยบายอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1980 ไม่มีผลต่อความคิดเห็นในทางกฎหมายในสหรัฐอเมริกาและยุโรปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในท้ายที่สุด สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้กำหนดให้การคุกคามทางเพศเป็นพฤติกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย และมีการออกระเบียบ รวมทั้งมาตรการคุ้มครองเงินอื่นๆอีกมากมายตามมา เพื่อพิทักษ์สิทธิและให้การคุ้มครองผู้เสียหายจากการจัดการทางเพศ
ในเวลาต่อมา กฎหมายเกี่ยวกับการป้องปรามการคุกคามทางเพศและการคุ้มครองผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบจากการคุกคามทางเพศของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรได้มีอิทธิพลต่อความคิดและการบัญญัติกฎหมายในหลายประเทศ เช่น ในประเทศออสเตรเลียได้บัญญัติให้การคุกคามทางเพศเป็นความผิดทางกฎหมายระดับสหพันธรัฐออสเตรเลีย โดยการบัญญัติไว้ใน Sex Discrimination Act 1984 ซึ่งเป็นกฎหมายระดับสหพันธรัฐโดยมีผลบังคับใช้กับทุกมลรัฐในประเทศออสเตรเลีย หรือแม้กระทั่งสาธารณรัฐเยอรมนี ก็ได้ให้ความสำคัญกับการคุกคามทางเพศเมื่อตั้งแต่ปี พ. ศ. 2549 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจาก Charter of Fundamental Right of European Union และ EU Directive ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเรียนกฎหมายอาญา กฎหมายคุ้มครองแรงงานและ General Equal Treatment Act ที่บังคับใช้ภายในประเทศ และทำให้เกิดการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็นไปในลักษณะที่เป็นคุณแก่ผู้เสียหายเป็นสำคัญ
สำหรับประเทศไทยแล้วถือว่า การคุกคามทางเพศ ( Sexual Harassment ) เป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ในสังคม ทั้งที่ความเป็นจริง การคุกคามทางเพศมีอยู่ในสังคมไทยมาเนิ่นนาน ทั้งนี้ กระแสต่อต้านการคุกคามทางเพศที่ปรากฏเด่นชัดในประเทศไทยเริ่มต้นจากองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิสตรีและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ได้เคลื่อนไหวและออกโรงให้สังคมรับรู้ถึงการคุกคามทางเพศและผลกระทบจากการคุกคามทางเพศในปี พ. ศ. 2523 ได้มีการขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง แต่ประเด็นการคุกคามทางเพศก็ไม่อยู่ในกระแสความสนใจของสังคมไทยในขณะนั้นเท่าที่ควร จวบจนกระทั่งใน
ปี พ.ศ. 2531 ได้มีตัวแทนฝ่ายผู้ใช้แรงงานหรือลูกจ้างเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านการคุกคามทางเพศชัดเจนยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ขึ้นในปี พ. ศ. 2541 โดยเนื้อหาของพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นพิธีการคุ้มครองแรงงานหญิงและเด็กจากการถูกคุกคามทางเพศของนายจ้าง แต่อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ยังขาดมาตรการที่ชัดเจนในการให้ความคุ้มครอง การป้องกัน และการเยียวยาความเสียหายทั้งทางจิตใจและทางร่างกายให้แก่เหยื่อที่ถูกคุกคามทางเพศ อีกครั้งการลูกค้าทางเพศก็ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกรณีนายจ้างกระทำต่อลูกจ้างเท่านั้น แต่การคุกคามทางเพศอาจเกิดขึ้นระหว่างผู้บังคับบัญชาตอบได้ไหมครับบัญชาในหน่วยงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจ การคุกคามทางเพศในองค์กรภาคเอกชน การคุกคามทางเพศระหว่างบุคคลในครอบครัว การคุกคามทางเพศในสถานศึกษา หรือแม้กระทั่งการคุกคามทางเพศในสถานพยาบาล เป็นต้น กฎหมายดังกล่าวเมื่อนำมาบังคับใช้แล้ว กลับไม่สามารถป้องปรามและทำให้ปัญหาการปกครองตามเพศลดลงได้ ประเด็นดังกล่าวจึงเป็นที่มาของบทความวิชาการชิ้นนี้ ที่ผู้เขียนต้องการศึกษาและนำเสนอถึงปัญหาในการบัญญัติกฎหมายเพื่อป้องปรามการคุกคามทางเพศของไทยในปัจจุบัน โดยมุ่งพิจารณาปัญหาซึ่งเกิดจากการบัญญัติกฎหมายที่ไม่ชัดเจนและครอบคลุมถึงรูปแบบการคุกคามทางเพศที่แท้จริง
บทความชิ้นนี้จึงมุ่งเน้นที่จะนำเสนอถึงรูปแบบของการคุกคามทางเพศและปัญหา รวมทั้งนำเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งกฎหมายแพ่งและกฎหมายของสหพันธรัฐเยอรมนี และเครือรัฐออสเตรเลีย และนำเสนอถึงปัญหาที่เกิดจากการบัญญัติกฎหมายซึ่งยังไม่ครอบคลุมถึงรูปแบบการคุกคามทางเพศอย่างแท้จริง ทำให้ไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ในการป้องปรามแล้วจำนวนการคุกคามทางเพศลงแต่อย่างใด พระที่สุดบทความชิ้นนี้จะนำเสนอแนะแนวทางในการบัญญัติกฎหมายรวมทั้งแนวทางในการเยียวยาความเสียหายให้แก่เหยื่อที่ถูกคุกคามทางเพศ