Abstract:
ทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลเป็นทฤษฎีที่มีคุณูปการอย่างมากต่อการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคลี่ให้เห็นถึงปัจจัยหลักของการตัดสินใจเลือกของตัวแสดง แต่ในทางปฏิบัติแล้วทฤษฎีดังกล่าวนี้ ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญ อันได้แก่ ระดับการวิเคราะห์ซึ่งจำเพาะเจาะจงเพียงตัวแสดงรายย่อย ความเป็นทางการของตัวทฤษฎีที่มีเงื่อนไขมากมายปัญหาในด้านการคำนึงถึงบรรทัดฐานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์เพียงลำพัง การขาดข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อทดสอบทฤษฎี ตลอดจนการละเลยอัตลักษณ์ของตัวแสดงที่มากกว่าผลประโยชน์ในการตัดสินใจ ข้อจำกัดเหล่านี้ก่อให้เกิดคำถามถึงการนำทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลมาใช้ในการอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์ที่มีความสลับซับซ้อน ผลที่ตามมาคือ ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ที่ได้อิทธิพลจากทฤษฎีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล อาทิทฤษฎีเสรีนิยมใหม่เชิงสถาบันของ โรเบิร์ต โคเฮน ทฤษฎีการข่มขู่ยับยั้ง ของสายอาชญาวิทยา และทฤษฎีทางเลือกสาธารณะของ วินเซนต์ ออสตรอม และเอลินอร์ ออสตรอม
ย่อมมีข้อจำกัดในการสร้างคำอธิบายต่อปรากฏการณ์ทางสังคมศาสตร์เช่นเดียวกัน