Abstract:
การวิจัยนี้เพื่อศึกษาการตระหนักรู้อภิปัญญาทางการเรียน ซึ่งเป็นกรอบความคิดเชิงระบบของบุคคลในการบูรณาการความรู้ทางอภิปัญญาและการติดตามกำกับกลไกการคิดทางอภิปัญญาเพื่อการเรียนรู้โดยการพัฒนาแบบสำรวจการตระหนักรู้อภิปัญญาของ Shrew and Dennison (1994) ซึ่งเป็นแบบสำรวจที่ใช้ในการวิจัยและศึกษาความตระหนักรู้อภิปัญญาของนิสิตนักศึกษา และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสาม โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตนักศึกษาปริญญาตรี จำนวน 620 คน (ชาย 173 คน หญิง 447 คน) อายุเฉลี่ย 19.6 ปี ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการตระหนักรู้อภิปัญญาทางการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี มีความตรงเชิงโครงสร้างของแนวคิดเชิงทฤษฎีแบบวัด (X2 =2151.38, df= 1145, X2/df =1.87, p= 0.000, RMSEA = 0.038, CFI = 0.99, GFI = 0.88, AGFI =0.86) และผลการวิจัยยังพบว่า นิสิตนักศึกษามีระดับของการตระหนักรู้อภิปัญญาทางการเรียนในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =3.46, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน = .50) ซึ่งควรมีกระบวนการตระหนักรู้อภิปัญญาทางการเรียนและการบูรณาการจัดระบบเพื่อการใช้องค์ความรู้และทักษะการคิดทางอภิปัญญาอย่างมีทิศทางเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ