Abstract:
แนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิงสถาบันแบบดั้งเดิมที่ยึกติดกับตัวสถาบันที่เป็นทางการมากเกินไป ทำให้การวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมขาดความรอบด้านและไม่สมบูรณ์ การเกิดขึ้นของแนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิงสถาบันแบบใหม่ได้เข้ามาลดข้อจำกัดดังกล่าว และสร้างความรอบด้านในการวิเคราะห์ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ระดับการวิเคราะห์ที่เคยผูกติดอยู่กับความเป็นองค์รวม (Collectivism) ในแนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิงสถาบันแบบดั้งเดิม ได้ถูกผสมผสานด้วยระดับการวิเคราะห์แบบปัจเจกนิยม (Individualism) ส่งผลในแนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิงสถาบันมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อสร้าง
ความเป็นรูปธรรมในการอธิบาย บทความชิ้นนี้ได้นำทฤษฎีเชิงสถาบัน (Institutional Approach) ของเบเวอรี่ ครอเฟิร์ด (Beverly Crawford) ที่ได้รับอิทธิพลจากแนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิงสถาบันแบบดั้งเดิมมาเป็นตัวแบบในการศึกษา เมื่อนำแนวการวิเคราะห์ทางการเมืองเชิงสถาบันแบบใหม่เข้ามาศึกษา การศึกษานี้สามารถสรา้งกรอบการวิเคราะห์ที่ทำให้เห็นถึงต้นเหตุของความขัดแย้งทางวัฒนธรรมในแต่ละท้องที่ได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น และสามารถนำไปสู่การหาทางออกของปัญหาได้อย่างตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น