DSpace Repository

การประเมินวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Show simple item record

dc.contributor.author พงศ์เทพ จิระโร
dc.contributor.author สุปราณี เสงี่ยมงาม
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:21:23Z
dc.date.available 2019-03-25T09:21:23Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3205
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้ความเหมาะสมของวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และประเมินผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการส่งแบบสอบถามไปยังผู้เกี่ยวข้องจำนวน 122 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการประชุมวิพากษ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน สรุปผลการวิจัย ดังนี้ พฤติกรรมการใช้วารสารศึกษาศาสตร์เกี่ยวกับระยะเวลาพบว่าผู้ตอบอ่านวารสารศึกษาศาสตร์ นาน ๆ ครั้ง มากที่สุด (ร้อยละ 60.70) โดยมีผู้อ่านเป็นประจำทุกฉบับคิดเป็นร้อยละ 23.80 และเมื่อพิจารณาสถานที่อ่านพบว่าอ่านจากหอสมุดมากที่สุด (ร้อยละ 32.8) รองลงมาอ่านจากที่ทำงาน (ร้อยละ 31.10) ความเหมาะสมของวารสารศึกษาศาสตร์โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ความคิดเห็นต่อวารสารศึกษาศาสตร์ตามวัตถุประสงค์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกข้อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตามจุดที่ควรปรับปรุง ได้แก่ ควรปรับปรุงหน้าปกและรูปแบบการพิมพ์ การออกวารสารให้ตรงต่อเวลา จำนวนครั้งที่ออกน้อยไปควรเพิ่มเป็น 4 เล่มต่อปี เนื้อหาในเล่ม ควรมีลักษณะมีบทความของนักวิชาการเด่นฉบับละ 1 เรื่อง ควรมีบทความเชิงสหวิทยาการและทันสมัยมากขึ้น จุดเด่นที่ควรรักษาไว้ คือ วารสารมีความหลากหลาย ความเข้มข้นของการรักษาคุณภาพ ในการคัดกรอง สัดส่วนของผู้นำเสนองานวิชาการและงานวิจัยในฉบับและรูปแบบการจัดทำวารสาร ซึ่งเป็นจุดเด่นที่วารสารศึกษาศาสตร์ควรรักษาไว้ ส่วนข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาระบบการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้มีความคล่องตัว รวดเร็วขึ้น ควรเผยแพร่ และส่งเสริมให้ศิษย์เก่าของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพามีโอกาสเข้าถึงในการส่งบทความทางวิชาการมาลงในวารสาร และรณรงค์ให้ศิษย์เก่าเป็นสมาชิกวารสารให้มากขึ้น ควรเพิ่มจำนวนเล่มจะทำให้วารสารได้มีโอกาสเพิ่มกิจกรรมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการได้มากขั้นตอบสนองความต้องการของสังคมมากขึ้น ควรปรับเป้าหมายของวารสารให้มีความครอบคลุมบทความวิจัยและบทความวิชาการสาขาอื่น ๆ th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา คณะศึกษาศาสตร์ - - วารสาร th_TH
dc.subject วารสาร - - การประเมิน th_TH
dc.subject สาขาการศึกษา th_TH
dc.title การประเมินวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 10
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative This study aimed to evaluate the use behavior of the Journal of Education produced by faculty of Education, Burapha University. The study evaluated the journal in two aspects; appropriateness and achievement of the objectives of the journal. Questionnaires were used to collect data from 122 respondents who work in the related fields and the qualitative data were collected from the critical meeting. The results of the study were as follows; The behavior of using the journal of education in terms of time showed that 60.70% of the respondents rarely read the journal. 23.80% of the respondents read every issue. 32.8% of the respondents read the journal from a library and 31.10% read from the office. In terms of the appropriateness of the journal, the result showed that the overall journal was highly appropriate. The objectives of the journal were highly achieved (100%). The improvement of the journal included its cover page and the printing format. Moreover, the periodical of the journal was not punctual. The number of issues should be 4 times per year. The content should include an academic outstanding article, an interdisciplinary article and should be more up to date. The features of the journal that should be maintained were the diversity of the journal, the maintenance of the quality, the quality of screening, the proportion of academic and research presentation, the form of the journal and other comments en
dc.journal วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development
dc.page 165-174.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account