Abstract:
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมการใช้ความเหมาะสมของวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และประเมินผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของวารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการส่งแบบสอบถามไปยังผู้เกี่ยวข้องจำนวน 122 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพจากการประชุมวิพากษ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน สรุปผลการวิจัย ดังนี้ พฤติกรรมการใช้วารสารศึกษาศาสตร์เกี่ยวกับระยะเวลาพบว่าผู้ตอบอ่านวารสารศึกษาศาสตร์ นาน ๆ ครั้ง มากที่สุด (ร้อยละ 60.70) โดยมีผู้อ่านเป็นประจำทุกฉบับคิดเป็นร้อยละ 23.80 และเมื่อพิจารณาสถานที่อ่านพบว่าอ่านจากหอสมุดมากที่สุด (ร้อยละ 32.8) รองลงมาอ่านจากที่ทำงาน (ร้อยละ 31.10) ความเหมาะสมของวารสารศึกษาศาสตร์โดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ความคิดเห็นต่อวารสารศึกษาศาสตร์ตามวัตถุประสงค์ของวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา บรรลุตามวัตถุประสงค์ทุกข้อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตามจุดที่ควรปรับปรุง ได้แก่ ควรปรับปรุงหน้าปกและรูปแบบการพิมพ์ การออกวารสารให้ตรงต่อเวลา จำนวนครั้งที่ออกน้อยไปควรเพิ่มเป็น 4 เล่มต่อปี เนื้อหาในเล่ม ควรมีลักษณะมีบทความของนักวิชาการเด่นฉบับละ 1 เรื่อง ควรมีบทความเชิงสหวิทยาการและทันสมัยมากขึ้น จุดเด่นที่ควรรักษาไว้ คือ วารสารมีความหลากหลาย ความเข้มข้นของการรักษาคุณภาพ ในการคัดกรอง สัดส่วนของผู้นำเสนองานวิชาการและงานวิจัยในฉบับและรูปแบบการจัดทำวารสาร ซึ่งเป็นจุดเด่นที่วารสารศึกษาศาสตร์ควรรักษาไว้ ส่วนข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาระบบการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิให้มีความคล่องตัว รวดเร็วขึ้น ควรเผยแพร่ และส่งเสริมให้ศิษย์เก่าของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพามีโอกาสเข้าถึงในการส่งบทความทางวิชาการมาลงในวารสาร และรณรงค์ให้ศิษย์เก่าเป็นสมาชิกวารสารให้มากขึ้น ควรเพิ่มจำนวนเล่มจะทำให้วารสารได้มีโอกาสเพิ่มกิจกรรมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการได้มากขั้นตอบสนองความต้องการของสังคมมากขึ้น ควรปรับเป้าหมายของวารสารให้มีความครอบคลุมบทความวิจัยและบทความวิชาการสาขาอื่น ๆ