DSpace Repository

การศึกษาคุณภาพการบริการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออก : การพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านท่องเที่ยว

Show simple item record

dc.contributor.author วุฒิชาติ สุนทรสมัย th
dc.contributor.author เกศริน อิ่มเล็ก th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:26Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:26Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/319
dc.description.abstract การวิจัยเรื่องการศึกษาคุณภาพการบริการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออก: การพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์หลักมุ่งเน้นศึกษาคุณภาพการบริการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ที่มีต่อการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออกโดยวิเคราะห์เรื่องปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเดินทาง และความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออก การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางพำนักที่พักแรมแบบโฮมสเตย์จำนวน 308 คน โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้าง(Structure Questionnaire ) และใช้ระยะเวลา 8 เดือน ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึงสิงหาคม พ.ศ.2549 แบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ วันธรรมดา (จันทร์-ศุกร์)เป็นเวลา 20 วัน และวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นเวลา 10 วัน และเลือกช่วงเวลาที่มีนักท่องเที่ยวเข้าพักแรม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการเดินทาง และความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการจัดการธุรกิจที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออก ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 51.6 มีอายุเฉลี่ย 34.81 หรือ 34 ปี 10 เดือน ส่วนใหญ่มีสถานภาพโสด ร้อยละ 55.2 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 44.2 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเกชนมากที่สุด ร้อยละ 35.8 ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน อยู่ในระดับ 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 35.1 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ร่วมเดินทางในแต่ละครั้งของนักท่องเที่ยวใน 6 เดือนที่ผ่านมา และอายุมีความสัมพันธ์กับลักษณะผู้ร่วมเดินทาง การจัดการสภาพแวดล้อม และลักษณะของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ระยะเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ร่วมเดินทางในแต่ละครั้งของนักท่องเที่ยวใน 6 เดือนที่ผ่านมา ช่องทางการให้บริการ และจำนวนวันที่เข้าพัก นอกจากนี้จำนวนผู้ร่วมเดินทางของนักท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจรวม ได้แก่ การส่งเสริมการตลาด ราคาค่าบริการจำนวนวันที่เข้าพัก จำนวนผู้ร่วมเดินทางในครั้งนี้ของนักท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์กับจำนวนวันที่เข้าพักและจำนวนวันที่พักของนักท่องเที่ยว มีความสัมพันธ์กับลักษณะของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ คุณภาพการบริการของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ 7 ด้านมีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ ลักษณะที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ราคาค่าบริการ ช่องทางการให้บริการ การส่งเสริมการตลาด การจัดการด้านกระบวนการด้านต่างๆ ผู้ให้บริการ และการจัดการสภาพแวดล้อม การศึกษาด้านคุณภาพการบริการของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ทำให้พบข้อเสนอแนะด้านการวิจัย คือ ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทำให้การสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (Cluster) ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของชุมชน ไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้การประเมินและติดตามผลคุณภาพการบริการของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประกอบการทราบระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้มีคุณภาพมาตรฐานของที่พักแรมแบบโฮมสเตย์และสามารถกระตุ้นนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาพักแรมได้อย่างสม่ำเสมอ และนำไปสู่การจัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์อย่างยั่งยืนต่อไป th_TH
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนการวิจัยโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การท่องเที่ยว - - ไทย - - วิจัย th_TH
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject โฮมสเตย์ th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว - - บริการลูกค้า th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมท่องเที่ยว - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title การศึกษาคุณภาพการบริการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ของภาคตะวันออก : การพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบธุรกิจด้านท่องเที่ยว th_TH
dc.type Research en
dc.year 2550
dc.description.abstractalternative The Study of Service Quality of Homestay in the Eastern Region of Thailand: The Development for the Potentiality, Strengths and Sustainability for Eco-tourism investigates the effects of tourist’s characteristics, travel behavior on service quality of Homestay in the eastern region of Thailand. This Study develops a survey-based methodology for measuring a homestay’s service quality in term the 7’s service mix:-service itself, service price and charge, channel of service distribution, process of servicing, service provider, promotion, and physical evidence through the structure questionnaire. The instrument evidenced adequate validity and high reliability. This service quality is the value endowed by the homestay service as perceived by a tourist. The study attempted to investigate the intherelationships among tourist’s characteristics, travel behavior, and service quality of homestay through performing the descriptive and inferential statistics methods. The sample consisted of 308 tourists, who have stayed at the homestay in the eastern region at least at least 1 night, is single, the average age of 34.81 years who holds bachelor’s degree with working at the private company, and monthly income range from 10,001-20,000 bath. Results indicated that overall service quality is high. It is also found a positive correlation between age of tourists and the number of accompanies who journeyed together within 6 months. In addition, it was little surprisingly found that older tourists, and number of accompanies for this trip were negative relationship to the number of stay in the homestay. The primary factors affect the homestay service quality were age of the tourists, number of accompanies who journeyed together within 6 months. Marketing promotion, service price and charge, and service provider were also the factors influence service quality as perceived by tourists. The focal recommended points therefore should stress on how to build the customer relationship and loyalty through a various types of marketing communication and sales promotion programs which based on its appropriated technology and quality of service providers or employees. For enhancing the sustainability development for homestay operation, the owners should watch and evaluate the service quality on regular basis. Cluster development would therefore recommend to achieve its goals that drawing on changes in environmental relationships among market needs, community participation, and total revenue as the result of organization-environment interaction and sustainable competitive advantages for the eco-tourism development in the future. en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account