dc.contributor.author | ดุสิต ขาวเหลือง | |
dc.contributor.author | วิทยา วิสูตรเรืองเดช | |
dc.contributor.author | มานพ แจ่งกระจ่าง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:21:15Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:21:15Z | |
dc.date.issued | 2558 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3084 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหว ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ และหาแนวทางการส่งเสริมและช่วยเหลือคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ กลุ่มตัวอย่างคือ คนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ 26 จังหวัดภาคกลาง จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้นำระดับนโยบาย นักวิชาการ นายกสมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย ตัวแทนคนพิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มญาติของคนพิการทางการเคลื่อนไหว และผู้แทนองค์กรของ คนพิการทางการเคลื่อนไหว รวมทั้งสิ้น 24 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุ ผลการวิจัย พบว่า คนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ มีการปรับตัวในระดับมาก โดยปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการปรับตัวในระดับ คือ อัตโนมัติ การสนับสนุนทางสังคม การเห็นคุณค่าในตนเอง และการพึ่งพาตนเอง ส่วนการฟื้นฟูสมรรถภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการปรับตัวคือ การพึ่งพาตนเอง ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการปรับตัว มี 3 ปัจจัยคือ การสนับสนุนทางสังคม การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการเห็นคุณค่าในตนเอง ปัจจัยส่วนที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการปรับตัว คือ อัตมโนทัศน์ แนวทางการส่งเสริมและช่วยเหลือคนพิการทางการเคลื่อนไหว เริ่มจากคนพิการควรมีความต้องการออกจากการเป็นคนพิการติดเตียง ยอมรับสภาพร่างกายของตนเอง มีความคิดเชิงบวก แสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อให้เกิดองค์กรคนพิการ กล้าให้คนพิการออกสู่สังคม อย่างเห็นใจคนพิการแบบผิดวิธี ส่วนสังคม ควรมีการส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อคนพิการ มีต้นแบบของคนพิการที่ประสบความสำเร็จ และลดพฤติกรรม การเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ และหน่วยงานภาครัฐ ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อคนพิการ ให้มากที่สุด มีกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีตัวกลางประสานงานระหว่างคนพิการกับสถานประกอบการ เพิ่มการประสานงานระหว่างหน่วยงาน และกระจายข่าวสารที่เป็นประโยชน์สำหรับคนพิการให้ทั่วถึง | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การปรับตัว (จิตวิทยา) | th_TH |
dc.subject | คนพิการ - - การดำเนินชีวิต | th_TH |
dc.subject | คนพิการ | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
dc.title | การปรับตัวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 2 | |
dc.volume | 10 | |
dc.year | 2558 | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to study the Adaptation of the Physical Handicaps effecting from the accident, factors influencing the Adaptation of the Physical Handicaps effecting from the accident and the find the ways to promote and support the Adaptation of the Physical Handicaps effecting from the accident. The Sampling Populations were 400 Physical Handicaps effecting from the accident in 26 Central Provinces of Thailand. The Main Informants were the Polity Leaders, Scholars, President of Thai Handicap Association, Representatives and Relatives of Physical Handicaps and 24 Representatives from Physical Handicap Association. The Analysis of Data was based on Descriptive Research and Structural causal model. The research revealed that The Adaptation of the Physical Handicaps effecting from the accident was high. The Causal Factors effected the high level of the Adaptation were Self-Concept, Social Support, Self-Esteem and Self Reliable. The Rehabilitation was moderate. The Direct Factor influenced the Adaptation was Self Reliable. The 3 Indirect Factors were Social Support, the Rehabilitation and Self-Esteem. The Factor in which directly and indirectly influenced the Adaptation was Self-Concept. The ways to promote and support the Adaptation of the Physical Handicaps effecting from the accident should start with the shifting of the handicaps from the bed, the acceptance of one physical condition, the positive thinking, the acquiring of more knowledge in order to form the organization for the Handicaps. The family sector should have faith in the performance of the Handicaps as well as the courage to let the Handicaps to face with the society, the wrong compassionate toward the handicaps. The Society should promote the positive conception toward the Handicaps, setting good model of successful Handicaps and cease the discrimination toward the Handicaps. The government sector should improve the environment to support to support the Handicaps as much as possible, organized the Rahabilitation process systematically and continuously, work as mean to cooperate between the Handicaps and organization, increase cooperation between institutes and spread essential information through out the Handicaps | en |
dc.journal | วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม = Journal of education and social development. | |
dc.page | 109-119. |