dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนิสิตคณะศึกษษศาสตร์สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ที่เรียนด้วยการบูรณาการเทคนิคการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตคณะศึกษษศาสตร์ สาขาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการเทคนิคการเรียนรู้ด้วยการบริการสังคมแบบทดสอบปลายภาค และแบบประเมินผลการเรียนการสอนของคณะศึกษkศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผลการวิจัยพบว่า ผลการเรียนรู้ของนิสิตที่เรียนด้วยการบูรณาการเทคนิคการเรียนรู้ด้วยการบริหารสังคมสูงกว่าเกณฑ์ 80% ที่กำหนดไว้ และผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (1) ด้านความรู้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การออกแบบการสอน การเขียนแผนกาสอน การเตรียมความพร้อมของผู้สอน การดำเนินการสอน ผลเรียน และควบคุมชั้นเรียน (2) ด้านทักษะ มีทักษะในการวางแผนการสอน การดำเนินการสอน การจัดกิอจกรรมเล่านิทาน การควบคุมชั้นเรียน การผลิตและใช้สื่อ การทำงานร่วมกัน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การประเมินตนเอง และการคิด (3) ด้านเจตคติ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู การสอน การบริการสังคม และการสอน ด้วยเทคนิคการบริการสังคม
Abstract
The purpose of quasi experimental research was to study the learning outcomes of students in teacher education, Library and Information Science, using integrated service learning technique. The sample group of this study was 9 third year students of the Faculty of Education, Burapha University, in the academic year 2005. The instruments were integrated service learning technique lesson plans, final test, and teaching evaluation form of the Faculty of Education.
The results of this research indicated that leaning outcomes using this technique were higher than the criterion (80%) . This included (1) Academic: developing student activities, promoting reading, student – centered teaching method, instruction design, lesson planning, readiness for teaching, teaching process, learners and classroom management. (2) Skills: planning, teaching, story telling , classroom management , materials using, collaborative , problem solving, self evaluation and thinking. (3) Affective: positive attitudes in teaching profession. |
th_TH |