dc.contributor.author |
วุฒิชาติ สุนทรสมัย |
|
dc.contributor.author |
เสาวคนธ์ วงศ์ศุภชัยนิมิต |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T08:47:24Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T08:47:24Z |
|
dc.date.issued |
2548 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/299 |
|
dc.description.abstract |
การติดต่อผลการทำวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาความคิดเห็น และนำความรู้ที่ได้รับจากการทำวิจัยในชั้นเรียนภายหลังการฝึกอบรม และแนวโน้มการทำวิจัยในชั้นเรียน ตลอดจนระบุปัญหา อุปสรรค เป็นการศึกษาวิเคราะห์ในลักษณะภาพรวมภายหลังจากการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการของคณะฯ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้น ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียน และข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำมาใช้วางแผน และปรับปรุงกระบวนการถ่ายทอดการเรียนรู้ของอาจารย์ การศึกษานี้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งประชากร คือ อาจารย์ประจำ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 100 คน ใช้เครื่องมือคือ แบบสอบถาม และผลการตอบกลับ จำนวน 52 คน คิดเป็น ร้อยละ 49.06 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติที ณ ระดับนัยสำคัญ .05
ผลการศึกษาพบว่า
อาจารย์ส่วนใหญ่มีอายุงานเฉลี่ย 5 ปี 9 เดือน หรือ 5.75 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดคือ ระดับปริญญาโท ร้อยละ 82.7 สำเร็จการศึกษาวิชาภาษาตะวันตก ร้อยละ 19.2 รองลงมา คือ บริหารธุรกิจ ร้อยละ 13.5 มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำวิจัย เคยทำการวิจัย คือ เคยทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอกมากที่สุด ร้อยละ 38.7 รองลงมา ได้แก่ เคยเป็นผู้ช่วยในการวิจัย เช่น ช่วยค้นคว้าเอกสาร เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ 24.3 และยังเคยรับการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิธีวิทาการวิจัย ร้อยละ 53.8
ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นและนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมฯ ไปใช้/ ปฏิบัติ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย สำหรับผู้ที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาโท ส่วนใหญ่นำไปใช้/ ปฎิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ที่มีระดับปริญญาเอกส่วนใหญ่นำไปใช้/ ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย แต่มีความคิดเห็นว่าการทำวิจัยไม่ใช่เรื่องยาก สำหรับผู้ที่มีประสบการณ์การทำวิจัยนั้น ส่วนใหญ่นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้/ ปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ผู้ที่เคยได้รับการฝึกอบรมจากหน่วยงานอื่นมาก่อนที่จะเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ กับคณะฯ ในครั้งนี้ส่วนใหญ่นำไปใช้/ ปฎิบัติอยู่ในระดับปานกลาง แต่มีแนวคิด หรือเกิดประเด็นปัญหาการทำวิจัยอยู่ในระดับมาก และการได้รับความรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้คณาจารยืส่วนใหญ่ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ สามารถนำไปปฏิบัติจริงเป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 59.6 สามารถนำไปปฏิบัติจริงมาก คิดเป็นร้อยละ 17.3 เมื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประสบการณ์การทำวิจัย และระดับการศึกษาไม่มีผลต่อความเห็นในการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้ ผลงานวิจัยที่เกิดในภายหลังจากการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 9 ชิ้นงาน โดยเป็นงานวิจัยเดี่ยว จำนวน 5 ชิ้งาน งานวิจัยเป็นทีม 4 ชิ้นงาน สำหรับปัญหาที่พบในการทำวิจัยหลังจากการเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ครั้งนี้ โดยรวมส่วนใหญ่ ปัญหาหลักของอจารย์ทุกระดับการศึกษาทั้งที่มีและไม่มีประสบการณ์การทำวิจัยมาก่อนและเคยฝึกอบรมมาก่อนหรือไม่เคยฝึกอบรม คือ ปัญหาที่ไม่มีเวลาทำวิจัย และปัญหารองลงมาคือ ไม่มีทุนในการทำวิจัย
ข้อเสนอแนะของการวิจัย คือ ในภาควิชาที่มีภาระงานสอนเกินมาก ควรมีการเพิ่มจำนวนอาจารย์ให้เป็นสัดส่วนกับภาระงานอย่างเหมาะสม ควรส่งเสริมและกำหนเนโยบายให้มีโครงการทำวิจัยเป็นกลุ่ม หรือเป็นทีมให้มากขึ้น กำหนดให้มีการใช้เกณฑ์การผลิตผลงานวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยเป็นดัชนีชี้วัดในการประเมินผลงานประจำปีทุกรอบการประเมิน และกำหนดให้มีคลินิกหรือระบบการให้คำปรึกษา หรือแล่งทางวิชาการที่ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยที่มีความรอบรู้และประสบการณ์การทำวิจัยเป็นพี่เลี่ยงคอยแนะนำตลอดโครงการ เพื่อพัฒนางานวิจัยในทุกระดับให้กว้างขวางต่อไป สำหรับการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไปควรเป็นการศึกษาเจาะลึก คือ วิธีการจูงใจให้ทำวิจัย และการพัฒนางานวิจัยที่เป็นสากลมากขึ้น
The purposes of the study are to identify instructors' opinion and classroom research practices after the classroom research training, and to indicate problems and barriers addressed for conducting research. Survey research is conducted. Data were collected from 106 instructors of the Faculty of Humanities and Soceences, Burapha university, with the response rate 49.06%. Descriptive statistics was performed and inferential statistics was used for test the established hypotheses with .05 level of significance.
The findings are as follows.
Subjects mostly have been working as instructors at the university for approximately 5 years and 9 months, master degree holders, majoring in Western language and Business Administration. Most respondents owned past research experiences through thesis writing, research assistance, and research training respectively. Even though, subjects have experienced some difficulties for conducting their own research works, they absolutely realized how important conducting research is and that doing so is not too difficult. However, subjects' past research experience and level of education were unrelated to their opinion on the research practices after the training. There are 9 undertaking research projects exist after the training; 5 individual research projects and 4 team research projects. This study found that teaching overload is the major problem lead not to have enough time to prepare and conduct research.
Recommendations from the study are established the formalmeasures such as developing and implementing the strategic research and development plan through new staff recruitment and selection, research mentoring proposed system, and conducting research as an integrate basis. Such the management tools should put together into a compact and manageable system that will help instructors improve their teaching performance through the classroom research. The suggested research studies in the future should be related to how to motivate instructors to concentration on increasing their research productivity with the quality management program. These are described and the implications for further research are enumerated. |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
พุทธศักราช 2548 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
การศึกษา - - วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
วิจัย |
th_TH |
dc.subject |
วิจัยชั้นเรียน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาการศึกษา |
th_TH |
dc.title |
การติดตามการวิจัยในชั้นเรียนของคณาจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.title.alternative |
Follow up of the instructors' classroom research in faculty of humanities and social sciences Burapha University |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.year |
2548 |
|