DSpace Repository

การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาตำบลตะพงและแหลมรุ่งเรือง จังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author วุฒิชาติ สุนทรสมัย th
dc.contributor.author ธนาวุฒิ โรจนรุ่งทวี th
dc.contributor.author เกศริน อิ่มเล็ก th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:24Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:24Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/295
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง “การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งและความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาตำบลตะพงและชุมชนแหลมรุ่งเรือง จังหวัดระยอง” จัดทำขึ้นตามวัตถุประสงค์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผู้ประกอบการและผู้สนใจประกอบการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ อีกทั้งเพื่อศึกษาปัญหาในการประกอบธุรกิจดังกล่าวในชุมชน ตลอดจนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือกันของผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวพักแรมแบบโฮมสเตย์กับชุมชนให้มีศักยภาพอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยการถ่ายทอดองค์ ความรู้ในด้านการตลาดที่จำเป็นต่อการประกอบการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดพื้นที่การศึกษา วัตถุประสงค์ เนื้อหา สื่อประกอบเป็นคู่มือ วิธีการประเมินผล ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลผลลัพธ์ด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ รวมทั้งวัดผลผลิตจากกการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรม ผลการถ่ายทอดความรู้ด้านการตลาดพิจารณาโดยอาศัยหลักการจัดการเชิงระบบ 3 ประการดังนี้ 1. ปัจจัยนำเข้า ผู้วิจัยได้กำหนดแนวคิดในการถ่ายทอดองค์ความรู้โดยใช้กลวิธีการเรียนรู้จาการปฏิบัติจริงเป็นหลัก การปรึกษาหารือ โดยอาศัยแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาด ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากการประชุมชี้แจงแก่ผู้สนใจเข้าร่วมการอบรม ซึ่งสามารถกำหนดสถานที่ เทคนิค วิธีการ สื่อและอุปกรณืต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 2. การดำเนินงาน ผู้วิจัยและชุมชนร่วมกันประชาสัมพันธ์โครงการ และดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดตามที่กำหนดร่วมกันไว้ 3. ผลการดำเนินงาน ผู้วิจัยได้ประเมินผลลลัพธ์ของโครงการด้านความพึงพอใจและประยุกต์ใช้ดังนี้ 3.1 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 17 คนส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุระหว่าง 31 - 35 ปี ซึ่งมีการศึกษาในระดับอ่านออกเขียนได้ ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย 3.2 ผุ้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดต่อเนื้อหาที่มีความน่าสนใจ การบรรยายที่สนุกไม่น่าเบื่อ การบริการอาหารว่าง/ อาหารกลางวัน สถานที่สะอาดและเหมาะสม รวมทั้งการได้แลกเปลี่ยนความรู้/ ความคิดเห็น 3.3 ผลผลิตจากการถ่ายทดอฝึกอบรมมีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาของหลักสูตร เช่น ที่พักโรงแรมแบบโฮมสเตย์ในฝันของชาวตะพงและแหลมรุ่งเรื่อง บทเพลงที่ร่วมกันแต่งและร้องที่แต่งขึ้น โปรแกรมการท่องเที่ยว ผลการศึกษาได้พบว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอย่างมาก แต่ยังไม่ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาด รวมทั้งการบริการยังขาดมาตรฐานที่เพียงพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยทักษะด้านการบริหาร การใช้ภาษาอังกฤษ และการทำบัญชีและการเงินอย่างถูกต้องด้วย ข้อเสนอแนะด้านการวิจัยคือ การติดตามผลการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ตลอดจนการเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนให้เข็มแข็งและเป็นรูปธรรม การสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยอาศัยทุนทางปัญญาพื้นบ้านของไทย นอกจากนี้ควรมีการศึกษาวิเคราะห์และระบุปัญหาของชุมชนรายรอบที่ได้รับผลกระทบต่อการเข้ามาของนรักท่องเที่ยวที่ต้องการที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ ซึ่งมีจำนวนเพื่อมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง th_TH
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนการวิจัยโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พุทธศักราช 2550 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject การตลาด th_TH
dc.subject การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ - - ระยอง th_TH
dc.subject การท่องเที่ยวโดยชุมชน - - ระยอง th_TH
dc.subject อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว th_TH
dc.title การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตลาดเพื่อพัฒนาศักยภาพ ความเข้มแข็ง และความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและการประกอบการด้านการท่องเที่ยวที่พักแรมแบบโฮมสเตย์ กรณีศึกษาตำบลตะพงและแหลมรุ่งเรือง จังหวัดระยอง th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2550
dc.description.abstractalternative The study the transference of knowledge of marketing to strengthen and sustain eco-tourism and home- stay business in Tapong sub -district and Laem Rung Reuag Community, Rayong province, aims to develop the entrepreneurs and other interest groups’ capacities/efficiency problems in conducting businesses in eco-tourism and home-stay business. In addition, this research also aims to promote the cooperation between the entrepreneurs and the community. The study is conducted in the form of participatory action research in order bodies of knowledge in the fields of marketing skills. The area of study, objectives, details, media, and evaluation criteria are scoped. The study found that: 1. Input factors: the research is mainly conducted through first-hand practices, and consultation. This is performed in accordance with the concept of participation in transferring of knowledge namely; marketing skills. It is cooperated by target groups there for details, techniques, methodology, and media can be well –determined. 2. Processes: the project is publicized, and the aforementioned skills are transferred. 3. Results: the evaluation of project is portrayed in terms of satisfaction and the application of the knowledge as: 3.1 There are 17 participants in marketing training service. Mostly, the participants are women between 31 -35 years with literary (primary) education to secondary education. 3.2 The participants are satisfied with an interesting lecture, meals, coffee break service, and the facts that the transference of marketing knowledge is practical and applicable. 3.3 The outputs of the training are different across on each objective and detail of the session. Some of those have been done in the forms of “Ideal Home-stay for people in community”, co –composed songs, package and tour programs. The results show that the entrepreneurs have gained basic marketing skill; however, they still need practice on marketing skills, including English skills and the accurate financial and accounting skills. It is acknowledged that the lack of cooperation among the entrepreneurs may be a major problem of eco- tourism and home-stay business in Tapong sub – district and Laem Rung Reung community, Rayong province. The suggestion for further research is to monitor whether the marketing knowledge is practical and applicable in a real situation. Importantly, the community should build a strong community network in order to harmonize the community under the Thai local wisdom. Furthermore, the study of problems raised by surrounding communities affected from continual floods of tourists who want to experience homestay housing should be fruitful to conduct the future research. en


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account