DSpace Repository

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตรสไปโรซีสของชาวนาในจังหวัดชัยนาท

Show simple item record

dc.contributor.author ยุวดี ลีลัคนาวีระ
dc.contributor.author สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
dc.contributor.author วนิดา นาคศิลา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:18:58Z
dc.date.available 2019-03-25T09:18:58Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2847
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสของชาวนาในจังหวัดชัยนาท กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวนาที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร ผู้ปลูกข้าวในจังหวัดชัยนาท ปีพ.ศ.2553 จำนวน 393 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็ยรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ชาวนามีการรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดโรคเลปโตสไปโรซีส การรับรู้ความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรซีส การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส และพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส ในระดับปานกลาง (M=2.13, SD=0.72, M=2.12, SD=0.89, M=1.84, SD=0.99, และ M=2.32, SD=0.42 ตามลำดับ) ปัจจัยที่สัมพันธ์และสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสได้อย่างมนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรซีส (Sev) การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีส (PbnPbr) ประสบการณ์การเกิดบาดแผลจากการประกอบอาชีพทำนา (Exp) และระยะเวลาในการประกอบอาชีพทำนา (Time) แลทั้งสี่ปัจจัยนี้สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสได้ ร้อยละ 12 ซึ่งสามารถเขียนสมการการทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้ Beh = 2.00 + 0.11 (Sev) + 0.05 (PbnPbr) -0.004 (Exp) +0.004 (Time) จากผลการวิจัยนี้ พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสของชาวนา โดยเน้นการสร้างการรับรู้ความรุนแรงของโรคเลปโตสไปโรซีส และการรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการป้องกันโรคเลปโตสไปโรซีสอย่างเป็นประจำและต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะผู้มีประสบการณ์การเกิดบาดแผลบ่อยครั้ง th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ชาวนา - - โรค th_TH
dc.subject เลปโตสไปโรซิส th_TH
dc.subject เลปโตสไปโรซิส - - การป้องกันและควบคุม th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเลปโตรสไปโรซีสของชาวนาในจังหวัดชัยนาท th_TH
dc.title.alternative Factors related to preventive behavior for leptospirosis of the farmers in Chainat province en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 61-72.
dc.volume 22
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study factors related to preventive behavior for leptospirosis of the farmers in Chainat province. The participants were 393 peasant farmers registered as Chainat Rice Year in 2553, selected by multistage random sampling. Questionnaires were used to collect data. Data were analyzed using descriptive statistic and stepwise multiple regression. The results showed that the farmers had perceived risk, perceived severity, perceived benefits and barriers of leptospirosis prevention and had the leptospirosis preventive behavior in moderate level (M=2.13, SD=0.72, M=2.12, SD=0.89, M=1.84, SD=0.99, and M=2.32, SD=0.42). Factors that related and significantly predicted leptospirosis preventive behavior were perceived severity (Sev), perceived benefits and barriers of leptospirosis prevention (PbnPbr), wound experiences of the farmers (Exp), and during of farmer occupation (Time). These four factors could predict the leptospirosis preventive behavior (Beh), accounting for 12.0%. The predictive equation was following: Beh = 2.00 + 0.11 (Sev) + 0.05 (PbnPbr) -0.004 (Exp) +0.004 (Time) The suggestion from the research findings is that nurse practitioner should enhance leptospirosis preventive behavior of the farmers by focusing on perceived severity, perceived benefits and barriers of leptospirosis preventive consistently every year, especially in the farmers who had more wound experiences. en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account