dc.contributor.author |
มณีรัตน์ ภาคธูป |
|
dc.contributor.author |
นฤมล ธีระรังสิกุล |
|
dc.contributor.author |
เอมอร อาจรัตนกูล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:18:57Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:18:57Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2837 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายวิธีการเผชิญความเครียดของบิดามารดาที่มีเด็กป่วยเรื้อรัง โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีความเครียดและการเผชิญความเครียดของลาซารัสและโฟล์แมน และทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของมิเชล กลุ่มตัวอย่างเป็นบิดามารดาที่มีเด็กป่วยเรื้อรังในหอผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 133 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และแบบวัดวิธีการเผชิญความเครียด โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคของแบบวัดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย และแบบวัดวิธีการเผชิญความเครียดเท่ากับ .80 และ .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีวิธีการเผชิญความเครียดโดยรวม และรายด้านระดับปานกลาง ยกเว้นวิธีการเผชิญความเครียดด้านการจัดการกับอารมณ์อยู่ในระดับน้อย ใช้วิธีการเผชิญความเครียดด้านการเผชิญปัญหามากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการแก้ปัญหาทางอ้อม วิธีการเผชิญความเครียดที่ใช้น้อยที่สุด คือการจัดการกับอารมณ์ ปัจจัยทำนายวิธีการเผชิญความเครียดของบิดามารดาเด็กป่วยเรื้อรังพบว่า
1. ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ด้านความคลุมเครือเกี่ยวกับการเจ็บป่วย สามารถทำนายวิธีการเผชิญความเครียดด้านการเผชิญปัญหาได้ ร้อยละ 4 (p < .01)
2. อายุและความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ด้านการขาดความชัดเจนของข้อมูล สามารถร่วมทำนายวิธีการเผชิญความเครียด ด้านการจัดการกับอารมณ์ได้ ร้อยละ 10 (p < .05)
ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการพยาบาลแก่บิดามารดาที่มีเด็กป่วยเรื้อรังให้สามารถปรับพฤติกรรมวิธีเผชิญความเครียดได้อย่างเหมาะสมต่อไป และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อวิธีการเผชิญความเครียดของบิดามารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคอื่น |
th_TH |
dc.language.iso |
eng |
th_TH |
dc.subject |
ความเครียด (จิตวิทยา) บิดามารดาและบุตร |
th_TH |
dc.subject |
ผู้ป่วยเด็ก |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
ปัจจัยทำนายวิธีการเผชิญความเครียดของบิดามารดาที่มีเด็กป่วยเรื้อรังในหอผู้ป่วยเด็ก |
th_TH |
dc.type |
บทความวารสาร |
th_TH |
dc.issue |
3 |
|
dc.volume |
22 |
|
dc.year |
2557 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this predictive research was to examine predictors of coping strategies among parents with chronically ill children. The Transactional Model of Stress and Coping (Lazarus & Folkman, 1984) and Mishel’s Theory Uncertainty in Illness (1988) was used as the conceptual framework. One-hundred and thirty three parents of children with chronic illness were selected following the inclusion criteria from the pediatric ward of Chon Buri Hospital, Chon Buri province. The questionnaires regarding personal data, Parent’s Perception of Uncertainty in Illness Scale and Jalowiec’s coping Scale were used for data collection. Cronbach’s alpha coefficients of Parent’s Perception of Uncertainty in Illness Scale and Jalowiec’s Coping Scale were .80 and .84, respectively. Descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis were employed for data analyses. The results revealed that sample reported having coping strategies in total and in each dimension at moderate level, excepted emotional coping strategy which was reported at low level. The coping techniques which were ranked from the highest to the lowest were as confrontive, palliative, and emotive strategies. The stepwise multiple regressions showed that factors which could predict coping were:
1. Ambiguity in illness could predict confrontive coping strategies at the level of 4% (p <. 01).
2. Age and lack of clarity in illness could predict emotive coping strategies at the level of 10% (p < .05).
These findings can be used to plan and provide more effective care for the parents of chronically ill children. It would also help the parents to cope with stress more appropriately. Further studies on factors influencing coping strategies among parents of children with other diseases are recommended |
en |
dc.journal |
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University |
|
dc.page |
1-13. |
|