dc.description.abstract |
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวันผลก่อน-หลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลเด็กสมองพิการโดยเปรียบเทียบความสามารถและความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลเด็กสมองพิการระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลเด็กสมองพิการที่นำเด็กมารับการรักษาที่โรงพยาบาลชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 20 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่พัฒนาตามแนวคิดของ Gibson (1995) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ดูแลเด็ก แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสามารถ และแบบสอบถามความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลเด็กสมองพิการ มีค่าความเชื่อมั่นของแอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .98 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และ Mann-Whitney U test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ผู้ดูแลเด็กในกลุ่มทดลองมีความสามารถในการดูแลเด็กสมองพิการสูงกว่าในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งคะแนนโดยภาพรวม (Z = -3.83, p< .001) และคะแนนรายด้าน ได้แก่ ด้านการดูแลทั่วไป (Z = -3.78, p< .001) ด้านการดูแลตามระดับพัฒนาการ (Z = -3.83, p< .001) และด้านการดูแลเมื่อมีการเจ็บป่วย (Z = -3.97, p< .001) และพบว่า ความรู้สึกเป็นภาระของผู้ดูแลเด็กสมองพิการในกลุ่มทดลองต่ำกว่าในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งคะแนนในภาพรวม (Z = -3.78, p< .001) และคะแนนรายด้าน ได้แก่ ด้านการใช้เวลา (Z = -3.79, p< .001) และด้านความยากลำบาก (Z = -3.65, p< .001)
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพมีหน้าที่ดูแลเด็กป่วยและครอบครัว สามารถนำโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจไปประยุกต์ใช้ เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการดูแลเด็กสมองพิการเพิ่มมากขึ้น และมีความรู้สึกเป็นภาระลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลทางบวกต่อสุขภาพจิตของผู้ดูแลและคุณภาพชีวิตของเด็กสมองพิการด้วย |
th_TH |
dc.description.abstractalternative |
This quasi-experimental research, pretest-posttest design aimed to examine effects of the child caregiver’s promoting program by comparing ability and burden of caring for children with cerebral palsy between the experimental and the control groups. Sample included 20 caregivers of cerebral palsy children who brought the children to receive medical treatment at Chonburi hospital, Chon Buri province. They were randomly assigned into the experimental and the control groups for 10 equally for each group. The experimental group received the empowerment promoting program, which was developed following Gibson’s empowerment concept (1995), whereas the control group received usual nursing care of the hospital. Data were collected from October, 2011 to June, 2012. Research instruments consisted of the demographic questionnaire, the ability to care for cerebral palsy children questionnaire, and the child caregiver’s burden questionnaire. Their Cronbach’s alpha were .98 and .93, respectively. Data analysis included frequency, percent, mean, standard deviation, range and Mann-Whitney U test.
Results revealed that after receiving the empowerment promoting program, child caregivers in the experimental group had their ability to care for children with cerebral palsy higher than those in the control group, for both total score of the ability (Z = -3.83, p< .001),and each subscales’ score of the general care (Z = -3.78, p< .001), the developmental care (Z = -3.83, p< .001) and the care for sickness (Z = -3.97, p< .001). Child caregivers in the experimental group also had their burden to care for children with cerebral palsy lower than those in the control group, for both total score of the burden (Z = -3.78, p< .001), and each subscales’ score of the time consuming (Z = -3.79, p< .001) and the difficulties (Z = -3.65, p< .001).
These findings suggest that nurses and health care personnel who responsible of caring for ill children and their families should apply the empowerment promoting program to use in nursing practice. Its consequence would be increase ability and decrease burden of child caregivers. Additionally, it will result in positive not only mental health on the caregiver but also quality of life of the children with cerebral palsy |
en |