DSpace Repository

ปัจจัยทำนายอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Show simple item record

dc.contributor.author วัลภา คุณทรงเกียรติ
dc.contributor.author พนาวรรณ บุญพิมล
dc.contributor.author สุภากรณ์ ด้วงแพง
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:18:56Z
dc.date.available 2019-03-25T09:18:56Z
dc.date.issued 2558
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2829
dc.description.abstract การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีอาการกำเริบเฉียบพลัน ภายใน 1 เดือนที่ผ่านมา และมาติดตามการตรวจรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 91 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสภาพจิตจุฬา แบบประเมินความรุนแรงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง แบบประเมินโรคร่วม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตามแผนการรักษา และแบบประเมินอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยความตรงของแบบประเมินความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตามแผนการรักษา และแบบประเมินอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีค่าเท่ากับ .87 และ 1.00 ตามลำดับ ส่วนความเที่ยงด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบประเมินภาวะซึมเศร้าและแบบประเมินความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตามแผนการรักษา มีค่าเท่ากับ .80 และ .76 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรุนแรงของอาการกำเริบเฉียบพลันระดับปานกลางมากที่สุด (ร้อยละ 41.8) จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตามแผนการรักษา และโรคร่วมสามารถร่วมกันทำนายอาการกำเริบเฉียบพลันได้ (ร้อยละ 73.20) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (R2 = .732; F (2, 88) = 120.21, p < .001) ดังนั้นพยาบาล ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรส่งเสริมความสม่ำเสมอ ในการปฏิบัติตามแผนการรักษาและให้ความสำคัญในการควบคุมโรคร่วม th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ปอดอุดกั้น - - ผู้ป่วย th_TH
dc.subject ปอดอุดกั้น th_TH
dc.subject อาการ (โรค) th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ปัจจัยทำนายอาการกำเริบเฉียบพลันในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง th_TH
dc.title.alternative Predictors of acute exacerbation among chronic obstructive pulmonary disease patients en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 23
dc.year 2558
dc.description.abstractalternative The purpose of this predictive correlation design was to examine predictors of acute exacerbation in chronic obstructive pulmonary disease (AECOPD) patients. The sample was 91 AECOPD patients in one month ago and were simple random sampling method at outpatient department, at Ayutthaya Hospital, Ayutthaya Province. The research instruments were 7 questionnaires and recorded forms: Personal information, Chula mental test, disease severity, co-morbidity, The center for epidemiologic studies-depression scale (CES-D), regimen adherence and AECOPD. Regimen adherence and AECOPD were content validity at .87 and 1.00 respectively. The center for epidemiologic studies-depression scale and regimen adherence were reliability of Cronbach’s alpha coefficient at .80 and .76 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistic, Pearson’s product moment correlation coefficients, Spearman’s rank correlation coefficients and stepwise multiple regression analysis. The results showed that the severity of AECOPD patients were 41.8 percent for the most moderate exacerbation. The multiple regression analysis indicated that 73.20 percent of variance in acute exacerbation was significantly predicted by regimen adherence and co-morbidity (R2 = .732; F (2, 88) = 120.21, p < .001). Therefore, all nurses should encourage regimen adherence and concentrate controlling co-morbidity in chronic obstructive pulmonary disease patients in order to reduce the frequency and severity of acute exacerbation en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page 26-39.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account