DSpace Repository

ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการกลัวความล้มเหลว การรับรู้ความสำคัญของการแข่งขัน และความวิตกกังวลก่อนการแข่งขันในนักกีฬาเยาวชน

Show simple item record

dc.contributor.author นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
dc.contributor.author ลัดดา พันธ์กำเนิด
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:18:52Z
dc.date.available 2019-03-25T09:18:52Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2783
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการกลัว ความล้มเหลว การรับรู้ความสำคัญของการแข่งขัน ความวิตกกังวลก่อนการแข่งขันในนักกีฬาเยาวชน การทดสอบโมเดลสมมติฐานครั้งนี้ใช้โปรแกรมลิสเรล 8.53 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติครั้งที่ 20 จำนวน 1,099 คน (ชาย 615 คน, หญิง 484 คน) อายุ 10-18 ปี เล่นกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี่มา 1-12 ปี จากกีฬาประเภททีม 677 คน และประเภทบุคคล 422 คน ตอบแบบสอบถามการกลัวความล้มเหลว TPFAI (Conroy et al., 2003; Ladda, in press) แบบสอบถามความวิตกกังวล CSAI-2TR (Cox, Martens & Russell, 2004; Martens et al., 1990; Muangnapoe, 1994) และคำถามของระดับการให้ความสำคัญของรายงานการแข่งขัน: PMI ผลการศึกษาพบว่า โมเดลสมมติฐานมีความเหมาะสมกับข้อมูลที่ใช้ศึกษาทั้งข้อมูลโดยรวม และข้อมูลในโมเดลที่แยกเพศชายและเพศหญิง อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรในโมเดลเป็นไปตามสมมติฐานเพียงบางส่วน โดยผลการวิจัยยืนยันชัดเจนว่า การกลัวความล้มเหลว มีผลต่อความวิตกกังวลก่อนการแข่งขัน แต่ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการกลัวความล้มเหลวกับการรับรู้ความสำคัญของการแข่งขัน และการรับรู้ความสำคัญของการแข่งขันกับความวิตกกังวลก่อนการแข่งขันไม่เป็นไปตามสมมติฐาน โดยผลการวิเคราะห์ข้อมูลแสดงว่า 1) การกลัว ความล้มเหลวไม่ส่งผลต่อการรับรู้ความสำคัญของการแข่งขัน นอกจากนี้ 2) การรับรึความสำคัญของการแข่งขันมีความสัมพันธ์เชิงลบ (ผูกพัน) กับความวิตกกังวลทางกาย และ 3) การรับรู้ความสำคัญของการแข่งขันไม่มีผลต่อความวิตกกังวลทางความคิด ซึ่งผลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรในโมเดลนี้ไม่แปรเปลี่ยนในกลุ่มของนักกีฬาเยาวชนชายและนักกีฬาเยาวชนหญิงผลการวิจัยครั้งนี้ ยังต้องมีการศึกษาตรวจสอบเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม การวิจัยครั้งนี้สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกลัวความล้มเหลวกับผลที่เกิดขึ้น และความวิตกกังวลก่อนการแข่งขันกับแหล่งที่มาของความวิตกกังวลก่อนการแข่งขันในกีฬาระดับเยาวชน th_TH
dc.language.iso eng th_TH
dc.subject กีฬา - - แง่จิตวิทยา th_TH
dc.subject ความกลัวความล้มเหลว th_TH
dc.subject ความล้มเหลว (จิตวิทยา) th_TH
dc.subject ความวิตกกังวล th_TH
dc.subject นักกีฬา th_TH
dc.subject สาขาสังคมวิทยา th_TH
dc.title ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการกลัวความล้มเหลว การรับรู้ความสำคัญของการแข่งขัน และความวิตกกังวลก่อนการแข่งขันในนักกีฬาเยาวชน th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 4
dc.year 2549
dc.description.abstractalternative The study purposes were to examine structural relationships model of fear of failure and perceived of match importance (PMI) and state anxiety. The hypothesized relationship of variables were tested through structural equation technique. The 1,099 participants (n = 615 for boys, n= 484 for girls) aged 10-18 years old, participating in their their specific sports for 1 to 12 years, from team (n = 677) and individual (n = 422) sport, who participated at the 20th Thai National Youth Games completed a series of tests including: IPFAI (Conroy et al., 2003; Ladda, in press); CSAI-2TR (Cox, Martens & Russell, 2004; Martens et al., 1990; Muangmanapoe, 1994); and a question of perceived match importance: PMI. The findings were as follows: The hypothesized structural relationship model was reasonable Accepted fit to the data and this model was also reasonable accepted fit to the data across group of gender. However, the causal linear relationship of variables in the model was partially supported. The results supported that fear of failure was directly and positively effected on cognitive and somatic anxiety before competing a match. The causal relation of fear of failure to perceived match importance to state anxiety, were not supported. The results showed that 1) fear of failure did not related to perceived math importance; 2) perceived match importance was negativety related to somatic anxiety; and 3) perceived match importance did not associated with cognitive anxiety. There causal linear relations were also invariance in a of boys and girls. The findings of this study need examination. However, this study addresses a better understanding on fear of failure and its consequence, and also on the state anxiety before a compettion and its antecedent in the competitive youth sport en
dc.journal วารสารวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและกีฬา
dc.page 37-49.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account