dc.contributor.author | สุกัญญา เจริญวัฒนะ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:18:49Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:18:49Z | |
dc.date.issued | 2557 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2746 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสมดุลของพลังงานจากสารอาหารและกิจกรรมการออกกำลังกาย กลุ่มประชากรเป็นนักจักรยานที่เข้าร่วมโครงการปั่นหลังวัยเกษียณที่ปั่นจักรยานครบระยะทาง 5,000 กม. จำนวน 14 คน เพศชาย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปแบบบันทึกอาหาร 3 วันโดยการสัมภาษณ์และการบันทึกกิจกรรม 24 ชั่วโมง วัดสัดส่วนร่างกาย จากน้ำหนักตัว ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย การวิเคราะห์ข้อมูลอาหารที่รับประทานใช้โปรแกรมอินมูแคล 4 ของสถาบันวิจัยโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล และการคำนวณค่าสถิติพื้นฐานจากค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลการศึกษาพบค่าเฉลี่ยของอายุ 59±6 ปี น้ำหนัก 62±7 กก และส่วนสูง166±3 ซม ดัชนีมวลกาย 22±2 ตารางเมตร โดยได้รับพลังงานเฉลี่ยต่อวัน 3,260±1832 กิโลแคลอรีต่อวัน (53 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน) ความสมดุลของสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีนอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมในการใช้พลังงานแบบอดทน (60:25:14) โดยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตจากอาหารที่ได้รับจำนวน 7 กรัม/กิโลกรัม/วัน ปริมาณโปรตีนได้รับจำนวน 1.3 กรัม/กิโลกรัม โดยสารอาหารแคลเซียมที่ได้รับต่อวันไม่สมดุลกับ% DRI (ปริมาณแคลเซียม 838± 483) การใช้พลังงานโดยรวมใน 24 ชั่วโมงพบว่าใช้พลังงานเฉลี่ยต่อวัน 3,440±1832กิโลแคลอรีต่อวัน (55 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน) สรุปว่าผู้สูงอายุที่มีการออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานทางไกลที่เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกประเภทความอดทนมีการใช้พลังงานสมดุลแบบทางลบ โดยส่งผลดีกับการลดการสะสมไขมัน ส่วนสารอาหารบางชนิดเช่นแคลเซียมยังได้รับไม่เพียงพอ จึงควรมีการรับประทานอาหารให้สมดุลต่อการฝึกซ้อมและการออกกำลังกายจากการปั่นจักรยานเพื่อการมีสุขภาพที่ดีต่อไป | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.subject | การขี่จักรยาน | th_TH |
dc.subject | การออกกำลังกาย | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ - - โภชนาการ | th_TH |
dc.subject | โภชนาการ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | ภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยานทางไกล | th_TH |
dc.type | บทความวารสาร | th_TH |
dc.issue | 1 | |
dc.volume | 9 | |
dc.year | 2557 | |
dc.description.abstractalternative | This study was aimed to determine energy balanced for diet and physical activity. Populations were 14 elderly endurance male cyclists in 5,000 kms. Questionnaires for general information and health, and self-report nutrition data; three day dietary records and 24 hours for physical activity record were employed for data collection. Anthropometric data: weights, height, BMI were also collected. Computerized program of INMUCAL v.4 was used for statistical analysis. The results of the study showed mean age of 59±6 yrs. Mean weight and height was 62±7 kgs and 166±3 cms., respectively. Caloric intakes were 3,260±1832 kcal/d (53 kcal /kg/d). Percent caloric distribution for carbohydrate, fat and protein was balanced (60:25:14). Carbohydrate quantity was met the requirement for endurance sport of 7 g/kg/d. Calcium intake did not meet DRI (838± 483). It was calculated, from 24 hours physical activity record, that the daily caloric requirements of males were 3,440±1832 kcal/d (55 kcal/ kg/d). These results indicated the daily negative caloric intakes, which was good for obesity prevention for older, however, some nutrients such as calcium was not adequate, therefore, it should be fortified to meet the demand of training and health. | en |
dc.journal | วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา = The public health journal of Burapha University | |
dc.page | 129-140. |