DSpace Repository

การสื่อสารของบุตรสาวกับมารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ และปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิง

Show simple item record

dc.contributor.author รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
dc.contributor.author พรนภา หอมสินธุ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:18:49Z
dc.date.available 2019-03-25T09:18:49Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2743
dc.description.abstract การศึกษาเชิงภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสื่อสารของบุตรสาวกับมารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศและพฤติกรรมทางเพศในนักเรียนหญิง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารเรื่องเพศระหว่างบุตรสาวกับมารดา ปัจจัยด้านจิตสังคมกับการมีเพศสัมพันธ์ การสำรวจนี้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองจากนักเรียนหญิงอายุระหว่าง 15-18 ปี จำนวน 550 คน พื้นที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และวิทยาลัยอาชีวศึกษาของรัฐบาล ในจังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามการสื่อสารของบุตรกับมารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ แบบสอบถามทัศนคติและความเชื่อเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ แบบสอบถามการรับรู้ในความสามารถของตนเองในการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และแบบวัดพฤติกรรมทางเพศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การหาความสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติถดถอยลอจิสติกส์แบบหลายตัวแปรร่วม (Multiple logistic regression) ผลการศึกษา พบว่า วัยรุ่นรับรู้ว่ามารดาของตนมีความถี่และความสะดวกใจในการพูดคุยเรื่องกับตนเองอยู่ในระดับค่อนข้างตํ่า ร้อยละ 29 ของวัยรุ่นหญิงตอบว่าเคยมีประสบการณ์มีเพศสัมพันธ์แล้ว การวิเคราะห์หลายปัจจัยร่วม พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการมีเพศสัมพันธ์คือ ความตั้งใจในการมีเพศสัมพันธ์ (AOR = 14.75, 95% CI = 8.61-25.27 รองลงมาคือ การรับรู้การมีเพศสัมพันธ์ของเพื่อน (AOR 2.51, 95% CI = 1.51-4.17) การรับรู้ความสามารถในการปฏิเสธ การมีเพศสัมพันธ์ (AOR 2.34, 95% CI = 1.41-3.89) และความไม่สะดวกใจในการพูดคุยมีอิทธิพลต่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AOR = 1.65, 95% CI = 1.00-2.74) ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าบุคคลากรทางสาธารณสุขควรมีบทบาทในการอบรมทักษะชีวิตในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ การปรับเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคมของวัยรุ่นเกี่ยวกับการเริ่มมีเพศสัมพันธ์ และส่งเสริมให้มารดามีการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรสาววัยรุ่นมากขึ้น th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การสื่อสาร th_TH
dc.subject วัยรุ่นหญิง - - พฤติกรรมทางเพศ th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.subject เพศสัมพันธ์ th_TH
dc.title การสื่อสารของบุตรสาวกับมารดาเกี่ยวกับความเสี่ยงทางเพศ และปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนหญิง th_TH
dc.title.alternative Mother-daughter sexual risk communication and psychosocial factors related to sexual experience among female students en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 9
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative This cross-sectional study aimed to investigate mother-daughter communication about sex-related topics and sexual behaviors in female students, as well as to examine associations between mother-daughter communication about the sex-related topics and psychosocial factors with sexual experience among female students. A survey, using self-administered questionnaires (SAQ), was conducted with 550 female students aged 15 to 18 years old. Recruitment sites were public upper secondary schools and public vocational colleges located in Chon Buri province. The instruments consisted of the Parent-Teen Sexual Risk Communication Scale (PTSRC), Sexual Risk-Related Attitudes and Beliefs Scale, Safe-Sex Self-efficacy Scale, and Sexual Behaviors Scale. Descriptive statistics, Pearson’s correlations, and Multiple Logistic Regression [Adjusted Odds Ratio (AOR) with 95% Confidence Interval (CI)] were used to analyze the data. The significant findings revealed that overall, frequency of mother-daughter communication about the sex-related topics and comfort with communication was quite low. For initiating sex, a substantial number of adolescent females (29%) reported ever having sexual experience. Multiple logistic regression showed that the most influential factor on having sexual experience was intention of having intercourse (AOR = 14.75, 95% CI = 8.61-25.27). Perception of peer’s sexual experience (AOR = 2.51, 95% CI = 1.51-4.17), low refusal self-efficacy (AOR = 2.34, 95% CI = 1.41-3.89) and discomfort with sexual communication directly influenced sexual experience (AOR = 1.65, 95% CI = 1.00-2.74). en
dc.journal วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา = The public health journal of Burapha University
dc.page 33-44.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account