dc.contributor.author |
พิริยา ศุภศรี |
|
dc.contributor.author |
รัชนีวรรณ รอส |
|
dc.contributor.author |
สุพิศ ศิริอรุณรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:18:48Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:18:48Z |
|
dc.date.issued |
2557 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2733 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดของมารดาที่มีการคลอดครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากมารดาหลังคลอดปกติที่มีการคลอดครั้งแรก จำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติไค-สแควร์
ผลการวิจัยพบว่า วิธีที่มารดาใช้ในการเผชิญการเจ็บครรภ์มากที่สุดคือ วิธีการหายใจช้าลึก (ร้อยละ 68) การบอกตนเองให้อดทน (ร้อยละ 46) และการเกร็งตัวและบีบกำสิ่งของ (ร้อยละ 42) ส่วนวิธีที่ดีที่สุดในการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดคือ การมีพยาบาลผดุงครรภ์ หรือบุคคลสำคัญในครอบครัวอยู่ด้วย ปลอบโยน ให้กำลังใจ และการเคลื่อนไหวร่างกาย เปลี่ยนท่าทาง เกร็งตัว กำสิ่งของแน่น ๆ คิดเป็นร้อยละเท่า ๆ กัน (ร้อยละ 30) กลุ่มมารดาที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี และกลุ่มมารดาที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป มีการรับรู้วิธีที่ดีที่สุดในการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2 = 9.08, df = 3, P-value = .03) โดยร้อยละมากที่สุดของมารดาที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี (ร้อยละ 42.9) รับรู้ว่าการมีพยาบาลผดุงครรภ์หรือบุคคลสำคัญในครอบครัวอยู่ด้วย ปลอบโยน ให้กำลังใจ เป็นวิธีการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดที่ดีที่สุด ในขณะที่ร้อยละมากที่สุดของกลุ่มมารดาที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป (ร้อยละ33.8) รับรู้ว่าการอดทน ทำเพื่อลูก ทำจิตใจให้สงบ เป็นวิธีการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดดีที่สุด
ผลการวิจัยเสนอให้มีการจัดบริการชั้นเรียนเตรียมตัวเพื่อการคลอดแก่มารดาระยะตั้งครรภ์และครอบครัว เพื่อพัฒนาทักษะการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอด และพยาบาลผดุงครรภ์ควรจัดให้มีบริการทางการพยาบาลที่ส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในดูแลมารดาระยะคลอดโดยเฉพาะในมารดาที่มีอายุน้อยหรือมารดาวัยรุ่น |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.subject |
การคลอด |
th_TH |
dc.subject |
ความเจ็บปวด |
th_TH |
dc.subject |
สตรีมีครรภ์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
วิธีการเผชิญการเจ็บครรภ์คลอดของมารดาที่มีการคลอดครั้งแรก |
th_TH |
dc.title.alternative |
Coping strategies with labor fain among first-time mothers |
en |
dc.type |
บทความวารสาร |
th_TH |
dc.issue |
3 |
|
dc.volume |
22 |
|
dc.year |
2557 |
|
dc.description.abstractalternative |
This study had a research design as descriptive. Aim of study was to investigate coping strategies with labor pain in first-time mothers. Sampling was simple randomized with the sample size of 100 first-time mothers. Questionnaires were used for data collection. Data were analysed by descriptive statistic and chi-square.
Results of study showed that coping strategies with labor pain that samples mostly used were deep breathing (68%), telling themselves to be patient (46%), tensing their muscles and squeezing things (42%). Samples reported that the best coping strategies with labor pain were having a midwife of their significant family member soothe and encourage them for which it had the same amount of percentage (30%) of strategies related to moving their body, changing their positions, tensing their muscles, squeezing things tightly. Mothers with the age lesser than 20 years old had significantly different perceived the best coping strategy with labor pain comparing to those with the age of 20 years old up (X2 = 9.08, df = 3, P-value = .03). Highest percent of mothers with the age lesser than 20 years old (42.9%) perceived that being consoled and supported by a midwife or their significant family member was the best coping strategy with labor pain. While highest percent of mothers with the age of 20 years old up (33.8%) perceived that being patient for her baby and calming their mind was the best coping strategy with labor pain.
Research results recommend that preparation childbirth class should be offered to pregnant women and their families for developing their skills regarding coping with labor pain. Also, midwife should create a service facilitating family member to participate in caring for mothers who were in labor, especially in teenage mothers. |
en |
dc.journal |
วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = The Journal of Faculty of Nursing Burapha University. |
|
dc.page |
56-68. |
|