dc.contributor.author |
ประทุม ม่วงมี |
|
dc.contributor.author |
อภิญญา อิงอาจ |
|
dc.contributor.author |
มนต์ชัย อินทเรือง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:18:46Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:18:46Z |
|
dc.date.issued |
2556 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2708 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกระดับเบาที่ความหนักของงาน 45%VO2max ร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีน 2 กรัม/ วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ที่มีต่อการเผาผลาญแหล่งพลังงานมวลไขมัน และปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชาย คณะวิทยาศาสตร์การกีฬามหาวิทยาลัยบูรพา อายุระหว่าง 19-22 ปี จำนวน 32 คน
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 8 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกระดับเบาร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีน กลุ่มที่ 2 ฝึกระดับเบาร่วมกับ
การให้สารหลอก กลุ่มที่ 3 ฝึกระดับเบา และกลุ่มที่ 4 กลุ่มควบคุม ทดสอบวัดค่าตัวแปรการเผาผลาญไขมันและคาร์โบไฮเดรตมวลไขมัน และปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด ในช่วงก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง นำผลมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้ paired samples t-test, repeated MANOVA และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยใช้วิธีของ Scheffe โดยนัยสำคัญทางสถิติกำหนดไว้ที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า มีค่าเฉลี่ยการเผาผลาญไขมันกลุ่มฝึกระดับเบาร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีน (74.22%) มากกว่าการฝึกระดับเบาร่วมกับการให้สารหลอก (58.44%) ฝึกระดับเบา (57.60%) และกลุ่มควบคุม (49.05%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยมวลไขมันและปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด ของทั้ง 4 กลุ่ม พบว่าไม่มีความแตกต่าง นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มการฝึกระดับเบาร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีนมีค่าเฉลี่ยการเผาผลาญไขมันเพิ่มขึ้น 28.1% ส่วนการฝึกระดับเบาร่วมกับการให้สารหลอก และฝึกระดับเบาอย่างเดียวมีค่าเฉลี่ยการเผาผลาญไขมันเพิ่มขึ้นประมาณ 9.4-11.9% จากข้อมูลที่ปรากฏทำให้สามารถสรุปได้ว่าการฝึกระดับเบา 45%VO2max ร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีน 2 กรัม/วัน เป็นวิธีการที่ส่งผลให้ร่างกายสามารถเผาผลาญไขมันเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่ามวลไขมันและปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด ทั้งนี้การรับประทานแอล-คาร์นิทีน ควรทำควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และผู้ที่แพ้แอล-คาร์นิทีน ก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน |
th_TH |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.subject |
การออกกำลังกาย |
th_TH |
dc.subject |
การใช้ออกซิเจน (สรีรวิทยา) แอล-คาร์นิทีน |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
th_TH |
dc.title |
ผลการฝึกระดับเบาร่วมกับการเสริมแอล-คาร์นิทีนที่มีต่อการเผาผลาญแหล่งพลังงาน มวลไขมัน และปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด |
th_TH |
dc.title.alternative |
Effects of low-intensity exercise training and L-carnitine supplement on substrate oxidation, fat mass and maximal oxygen consumption |
en |
dc.type |
บทความวารสาร |
th_TH |
dc.issue |
2 |
|
dc.volume |
8 |
|
dc.year |
2556 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research was to study the effects of low-intensity exercise training at 45%VO2max with 2 mgs of L-carnitine supplements per day for 4 weeks on substrate oxidation, fat mass and maximal oxygen consumption (VO2max). Thirty-two male undergraduate students aged 19 to 22 years were recruited from the Faculty of Sport Science, Burapha University. The participants were divided
into 4 groups with 8 members each group; Group I performed low-intensity exercise training with
L-carnitine supplements, Group II performed low-intensity exercise training with placebos, Group III performed only low-intensity exercise training, and Group IV was the control group. Measurement values of substrate oxidation, fat mass and maximal oxygen consumption were tested and data was statistically analyzed by using paired samples t-test and repeated MANOVA. Pre-post intervention match comparison was performed using the method of Scheffe at level of significance .05.
According to the findings, for mean of fat oxidation, low-intensity exercise training with L-carnitine supplements (74.22%) had higher than low-intensity exercise training with placebos (58.44%),
low-intensity exercise training (57.60%), and the control group (49.05%) with statistical significance. Concerning mean fat mass and maximal oxygen consumption among all 4 groups were not differ, the findings revealed low-intensity exercise training with L-carnitine supplements to have increased mean fat oxidation by 28.1%. Low-intensity exercise training with placebos and low-intensity exercise training increased mean fat oxidation by approximately 9.4-11.9%. In conclusion, low-intensity exercise training at 45%VO2max with 2 mgs of L-carnitine supplements per day was a method with the effect of increasing fat oxidation but fat mass and maximal oxygen consumption were not significance. Lcarnitine Supplements should be consumed with proper food consumption. Personsallergic to L-carnitine supplements should avoid taking the supplements. |
en |
dc.journal |
วารสารสาธารณสุขศาสตร์ = Journal of public health |
|
dc.page |
59-68. |
|