DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.author ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.author จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
dc.contributor.author กนิษฐา บุญภา
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:18:46Z
dc.date.available 2019-03-25T09:18:46Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2707
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวน 162 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความรู้สึกเมื่อยล้า และตรวจวัดความเมื่อยล้าด้วย (Critical Flicker Frequency = CFF) สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson correlation และ Chi square ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมี อายุเฉลี่ย 45.04 ปี อายุงานเฉลี่ย 13.37 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.3 มีการทำงาน วันละ 8 มีการสูบบุหรี่ ร้อยละ 30.9 ความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัยหลังปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.8 และ ระดับต่ำ ร้อยละ 22.2 และมีความเมื่อยล้าเชิงวัตถุพิสัย (CFF) ร้อยละ 32.1 เมื่อหาความสัมพันธ์ พบว่าจำนวนปีของรถโดยสารประจำทาง (X2 = 6.238, p = .004) ระยะทางการขับรถแต่ละเที่ยว (r = -.216) ระยะเวลาพักแต่ละเที่ยว (r = -.188) มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัย อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.05 อายุ (r = -.307) รายได้ (r = -.288) จำนวนบุตร (r = -.318) อายุงาน (r = -.317) ชั่วโมงการนอนหลับ (r = .281) เวลาในการออกกำลังกาย (X2 = 15.833, p = .001) มีสัมพันธ์กับค่า CFF อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.01 ดัชนีมวลกาย (r = -.227) ระดับการศึกษา (X2 = 13.919, p = .003) มีโรคประจำตัว (X2 = 4.924, p = .026) มีการทำงานพิเศษนอกจากงานขับรถ (X2 = 8.390, p = .004) มุมของที่นั่งกับพนักพิงหลัง (X2 = 6.183, p = .013) การสูบบุหรี่ (X2 = 8.134, p = .004) ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ (r = -.224) จำนวนมวนที่สูบบุหรี่ต่อวัน (r = -.198) การออกกำลังกาย (X2 = 4.0, p = .045) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม (r = -.158) มีความสัมพันธ์กับค่า CFF อย่างมีนัยสำคัญที่ สถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยสามารถนำข้อมูลไป วางแผน ป้องกันปรับเปลี่ยน สนับสนุน ปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับ ความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางได้ในอนาคต th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject คนขับรถประจำทาง th_TH
dc.subject ความล้า th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร th_TH
dc.title.alternative Factors related to fatigue among bus drivers in a zone of Bangkok Mass Authority, Bangkok en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 8
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative This cross-sectional research was conducted to determine factors related to fatigue among bus drivers in a zone of Bangkok Mass Transit Authority, Bangkok. One hundred and sixty two bus drivers were selected using simple random sampling, and interviewed by questionnaire, subjective feeling of fatigue and objective feeling of fatigue using Critical Flicker Frequency test (CFF). Statistical techniques used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson correlation and chi-square. The findings showed that the average age was 45.04 years old, average work years was 13.37 years, 59.3 % worked 8 hours, 30.9% smoked, 77.8 % had subjective feeling of fatigue after work at a moderate level, 22.2% had a low level, 32.1% had objective feeling of fatigue after work. Factors related to subjective feeling of fatigue included age of the bus (X2 = 6.238, p = .004), distance per route (r = -.216), and rest time per route (r = -.188). Factors related to objective feeling of fatigue included age (r = -.307), income (r = -.288), number of children (r = -.318), work years (r = -.317), hours of sleep (r = .281), and duration of exercise (X2 = 15.833, p = .001) at the significant level of 0.01. Body mass index (r = -.227), education (X2 = 13.919, p = .003), history of illness (X2 = 4.924, p = .026), doing other job (X2 = 8.390, p = .004), angle of seat and backrest (X2 = 6.183, p = .013), smoking (X2 = 8.134, p = .004), duration of smoking (r = -.224), number of smoke per day (r = -.198), exercise (X2 = 4.000, p = .045), and social support (r = -.158) were significantly related to objective feeling of fatigue at 0.05. This research can be used for future planning and modification of factors related to fatigue in bus drivers. en
dc.journal วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.page 46-58.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account