Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร รูปแบบการวิจัยเป็นแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำนวน 162 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบไปด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความรู้สึกเมื่อยล้า และตรวจวัดความเมื่อยล้าด้วย (Critical Flicker Frequency = CFF) สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson correlation และ
Chi square
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมี อายุเฉลี่ย 45.04 ปี อายุงานเฉลี่ย 13.37 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.3 มีการทำงาน
วันละ 8 มีการสูบบุหรี่ ร้อยละ 30.9 ความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัยหลังปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 77.8 และ ระดับต่ำ ร้อยละ 22.2 และมีความเมื่อยล้าเชิงวัตถุพิสัย (CFF) ร้อยละ 32.1 เมื่อหาความสัมพันธ์ พบว่าจำนวนปีของรถโดยสารประจำทาง (X2 = 6.238, p = .004) ระยะทางการขับรถแต่ละเที่ยว (r = -.216) ระยะเวลาพักแต่ละเที่ยว (r = -.188) มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าเชิงจิตวิสัย อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.05 อายุ (r = -.307) รายได้ (r = -.288) จำนวนบุตร (r = -.318) อายุงาน (r = -.317) ชั่วโมงการนอนหลับ (r = .281) เวลาในการออกกำลังกาย (X2 = 15.833, p = .001) มีสัมพันธ์กับค่า CFF อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.01 ดัชนีมวลกาย (r = -.227) ระดับการศึกษา (X2 = 13.919, p = .003) มีโรคประจำตัว (X2 = 4.924, p = .026) มีการทำงานพิเศษนอกจากงานขับรถ (X2 = 8.390, p = .004) มุมของที่นั่งกับพนักพิงหลัง (X2 = 6.183, p = .013) การสูบบุหรี่ (X2 = 8.134, p = .004) ระยะเวลาที่สูบบุหรี่ (r = -.224) จำนวนมวนที่สูบบุหรี่ต่อวัน (r = -.198) การออกกำลังกาย (X2 = 4.0, p = .045) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคม (r = -.158) มีความสัมพันธ์กับค่า CFF อย่างมีนัยสำคัญที่ สถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยสามารถนำข้อมูลไป วางแผน ป้องกันปรับเปลี่ยน สนับสนุน ปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับ ความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางได้ในอนาคต