DSpace Repository

การดำรงอยู่และบทบาทของวัฒนธรรมจีนในภาคตะวันออก

Show simple item record

dc.contributor.author ประสิทธิ์ เงินชัย
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:18:46Z
dc.date.available 2019-03-25T09:18:46Z
dc.date.issued 2557
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2701
dc.description.abstract การอพยพมายังประเทศไทยตั้งแต่อดีตของคนจีน ได้ทำให้วิถีของชาวจีนในสังคมไทยมีความผสมกลมกลืนกันทางวัฒนธรรมไทย ขณะเดียวกันก็ยังพบว่าชาวจีนส่วนใหญ่ยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมของตนไว้อย่างเหนียวแน่น พื้นที่ภาคตะวันออกของไทยเป็นอีกภูมิภาคหนึ่งที่ชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งหลักปักฐานเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ซึ่งส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานตามชายฝั่งทะเลและลุ่มแม่น้ำ และอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มที่มักเรียกว่า ตลาด หรือ “ตั๊กลัก” แม้ตลาดบางแห่งไม่ใช่ชาวจีนที่เป็นเจ้าของ แต่คนจีนก็ยังคงเป็นคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในตลาด นอกจากนี้ชาวจีนจะมีความเชื่อว่าวิญญาณของบรรพบุรุษของตนมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและอำนวยการความผาสุกร่มเย็น ดังนั้น คนจีนจึงต้องจงรักภักดีและเคารพต่อผู้อาวุโสในครอบครัว ทั้งเมื่อผู้อาวุโสยังมีชีวิตอยู่และเมื่อผู้อาวุโสถึงแก่กรรมไปเพราะผีหรือวิญญาณบรรพบุรุษก็มีความสามารถพิเศษที่คนเป็นไม่อาจกระทำได้ คือ สามารถนำความสุขหรือภัยพิบัติมาให้แก่คนที่มีชีวิตอยู่ได้อิทธิพลของวัฒนธรรมจีนในภาคตะวันออกสะท้อนผ่านพิธีกรรมและประเพณีที่ผู้คนยึดถือ ปฏิบัติ และสืบทอดกัน อาทิ เทศกาลไหว้พระจันทร์ กินเจ เช็งเม้ง ตรุษจีน ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติจีนโบราณ เช่น พิธีการแต่งงาน การถือปฏิบัติเรื่องการแต่งงานของเจ้าบ่าวและเจ้าสาว สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำที่คุณแม่คนใหม่ต้องรู้ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญมีบทบาทและความหมายที่ถือได้ว่า เป็นการตกผลึกทางความรู้ของชาวจีนที่ไม่ว่าเวลาจะเปลี่ยนไปอย่างไรวิถีชีวิตของชาวจีนที่ผูกพันกับครอบครัว เทศกาลและธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิม ก็ยังคงดำรงเอกลักษณ์ของความเป็นคนจีนตลอดไป th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject ชาวจีน - - ความเป็นอยู่และประเพณี - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject ชาวจีน - - ไทย (ภาคตะวันออก) th_TH
dc.subject วัฒนธรรมจีน th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา th_TH
dc.title การดำรงอยู่และบทบาทของวัฒนธรรมจีนในภาคตะวันออก th_TH
dc.title.alternative The existence and roles of Chinese culture in eastern region en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 6
dc.year 2557
dc.description.abstractalternative The migration of Chinese to Thailand from the past caused the social life of Chinese to cultural assimilation. Meanwhile, it also found that Chinese still firmly preserve their cultural traditions. The Eastern region of Thailand was another region which a large number of Chinese migrants settled down and most of them were Chaozhou Chinese. Mostly, they settled down along the coast and the river basin and lived together in a group which were called “Tak-Lak” or fresh market. Though the owners of some of fresh markets were not Chinese, where in they still was most of group of people. Besides Chinese people in Thailand believes in roles of superstition or the spirits of their ancestors in protecting the well-being and facilitate peaceful to their families. Thus, they have loyalty and respect to the elders in family both when the elders are still alive and even when they die. Because ghosts or the spirits of ancestors have special abilities which human beings are not permitted which are to bring joy or disaster to the people who still alive. The influences of Chinese culture in the east mirror via the rituals and traditions that people hold practice and inherit, for example, the Moon Festival, Nine Emperor Gods Festival of Vegetarian Festival, Qingming Festival, Chinese New Year etc. Furthermore, Chinese ancient traditions and practices, such as Chinese wedding ceremony, considerations in marriage of bride and groom and in pregnant of new mom, are also included because their importance, role and meaningfulness show crystallized intelligence of Chinese people. At anytime, ways of life of Chinese which tie with family, festivals and ancient traditions have maintained Chinese identity forever. en
dc.journal วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย
dc.page 63-75.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account