Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ และวิเคราะห์ผลของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนใน สปป. ลาว (นครหลวงเวียงจันทร์) จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านเกณฑ์การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผลการทดสอบเครื่องมือมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 การวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการโดยใช้ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางแบบเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD และวิเคราะห์ผลของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อการรับรู้การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มี เพศ อายุ และสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการ และประสิทธิภาพของการใช้สื่อสารการตลาดแบบบูรณาการแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยของครอบครัว พบว่ามีการรับรู้การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการและประสิทธิผลของการใช้สื่อสารการตลาดแบบบูรณาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการใช้การสื่อสารการตลาดแบบบุรณาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย 8 ปัจจัย ได้แก่ การโฆษณา การส่งเสริมการขาย การจัดอีเวน การประชาสัมพันธ์ การตลาดทางตรง การตลาดออนไลน์ การตลาดแบบปากต่อปาก และการขายโดยบุคคล โดยสามารถอธอบายความผันแปรของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการได้ร้อยละ 47.9 โดยเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z = 0.145(X1)*+0.153(X2)*+0.161(X3)*+0.187(X4)*+0.125(X5)*+0.208(X6)*+0.034(X7)*+0.185(X8)*