Abstract:
ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ เป็นหนึ่งในทฤษฎีสังคมวิทยา ที่พยายามอธิบายปรากฎการณ์สังคมด้วยมุมมองที่ให้ความสำคัญกับตัวแสดงในฐานะเงื่อนไขที่มีอิทธิพลกำหนด ลักษณะประการสำคัญของทฤษฎีนี้คือสัญลักษณ์ ตัวแสดงที่มีความกระตือรือร้น การปฏิสัมพันธ์ และการมีอยู่จริงของปฏิสัมพันธ์ นั่นหมายความว่า ทฤษฎีนี้เชื่อว่าสังคมหรือโครงสร้างสังคมเกิดจากการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กัน ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์ร่วมกันสร้างสัญลักษณ์ขึ้นมา การดำรงอยู่ของสัญลักษณ์ แบบแผนการกระทำ และโครงสร้างสังคมโดยเฉพาะวัตถุทางสังคม เนื่องจากการกระทำของปัจเจกชน หากปัจเจกชนปฏิเสธหรือเปลี่ยนสัญลักษณ์ แบบแผนการกระทำ หรือโครงสร้างสังคม โครงสร้างก็ไม่สามารถมีอิทธิพลต่อปัจเจกชนได้ การกระทำของปัจเจกชนที่อยู่ในสังคมจึงไม่ได้ถูกกำหนดจากโครงสร้างสังคม หากแต่ต้องทำการเลือกและตัดสินใจท่ามกลางทางเลือกมากมายว่าทางเลือกใดจึงจะดีที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด สอดคล้องกับคุณค่าของปัจเจกชนและสังคมในสถานการณ์นั้น ๆ ฉะนั้นปรากฎการณ์ทางสังคมมนุษย์จึงเป็นผู้สร้าง ผลิตซ้ำและเปลี่ยนแปลง