DSpace Repository

ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมของพยาบาลวิชาชีพจังหวัดระยอง

Show simple item record

dc.contributor.author วรรณิภา อัศวชัยสุวิกรม
dc.contributor.author สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
dc.contributor.author เจนจิรา เจริญการไกร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:16:08Z
dc.date.available 2019-03-25T09:16:08Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2606
dc.description.abstract ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดระยอง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดระยอง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ เพศหญิง ไม่มีประวัติเป็น โรคมะเร็วเต้านม ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 269 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผูวิจัยสร้างขึ้นเอง โดยใช้แนวคิดของไอเซน(Ajzen,1991) ประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติต่อการคัดกรองทางตรง เจตคติต่อการคัดกรองทางอ้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางตรง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางอ้อม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยทางตรง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยทางอ้อม ความตั้งใจตรวจคัดหรอง โดยเจตคติต่อการคัดกรองทางตรงและทางอ้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางอ้อม การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยทางอ้อม มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ในระดับมาก (α= .71, .82, .93 และ .80 ตามลำดับ) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหูคูรแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความตั้งใจที่จะไปตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรมของกลุ่มตัวอย่างในระดับมาก (M= 68.64, SD=25.44) เจตคติต่อการคัดกรองทางตรงอยู่ในระดับดี (M=0.82, SD=0.62) เจตคติต่อการตรวจคัดกรองทางตรงอยู่ในระดับดีมาก (M= 3.42, SD 0.79) มีการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางตรงและทางอ้อมในระดับมากที่สุด (M=1.57, SD=0.76; M=6.32, SD= 3.22 ตามลำดับ) การรับรู้ความสามารถในการควบคุมปัจจัยทางตรงและทางอ้อมอยู่ในระดับไม่แน่ใจ (M=0.38, SD=1.39; M=1.81, SD=3.58 ตามลำดับ) ประสบการณ์ในการตรวจคัดกรองเจตคติต่อการคัดกรองทางอ้อม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางอ้อม อายุ ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์และร่วมกันทำนายความตั้งใจตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรมของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดระยองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ได้ร้อยละ 29.5 ด้วยสมการถดถอย Z'ความตั้งใจตรวจคัดกรอง = 0.199Z'ประสบการณ์ในการตรวจคัดกรอง +0.222Z'เจตคติต่อการคัดกรองทางอ้อม +0.223Z'การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางอ้อม +0.168Z'ค่าลอการิทึมของอายุ +0.127Z'การศึกษาระดับปริญญาโท ผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลวิชาชีพมีความตั้งใจมากที่จะไปตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรม ปัจจัยทำนายที่พบในงานวิจัยนี้ พยาบาลเวชปฏิบัติสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกระตุ้นให้พยาบาลวิชาชีพมีความตั้งใจเข้ารับการตรวจคัดกรองเต้านม เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็วเต้านม th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การตรวจคัดโรค th_TH
dc.subject เต้านม - - การบันทึกภาพด้วยรังสี th_TH
dc.subject เต้านม - - มะเร็ง th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.title ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรมของพยาบาลวิชาชีพจังหวัดระยอง th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 1
dc.volume 21
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study factors affecting the intention for screening mammography of registered nurses in Rayong province. 269 female registered nurses, with no histrory of breast cancer working at the centric hospital, community hospitals, and private hospital, were selected from multistage random sampling. The questionnaire guided by Ajzen(1991) was developed by the researcher. It includes personal characteristics, direct and indirect attitudes toward screening mammography, direct and indirect subjective norm, direct and indirect perceived ability to control factors and the intention for screening mammography. The reliabilities of the instrument direct and indirect attitudes toward screening mammography, indirect subjective norm, indirect perceived ability to control factors were to high level (α= .71, .82, .93 and .80 respectively). Data were analyzed by decriptive statistics and stepwise multiple regression. The results showed that means score of intention for screening mammography scored by the samples was in a high level (M= 68.64, SD=25.44); direct attitudes toward screening mammography was in a good level (M=0.82, SD=0.62); indirect attitudes toward screening mammography was in a very good level (M=1.57, SD=0.76; M=6.32, SD= 3.22, respectively); direct and indirect perceived ability to control factors were in a doubt level (M=0.38, SD=1.39; M=1.81, SD=3.58, respectively). Combination of experience of screening mammography, indirect attitudes toward screening mammography, indirect subjective norm, age, education significantly association and predicted intention for screening mammography (p<.05), and explained 29.5 percents of the intervention to screening, with the following equation: Z'1=0.199Z'ES +0.222Z'BE +0.223Z'NM +0.168Z'Log10age +0.127Edu.M The results of this study showed that nurses had high attention to do screening mammography. For predicting factors found in this study, nurse practitioners could utilize as a guide to encourage registered nurses to build up intention for breast cancer screening in order to decrease risk of breast cancer en
dc.journal วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of faculty of nursing Burapha University
dc.page 13-25.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account