Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน 2) ตรวจสอบความยาก อำนาจจำแนก ความตรง และความเที่ยงของแบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา การวัด และประเมินผลในชั้นเรียนที่สร้างขึ้น และ 3) หาคะแนนจุดตัดของแบบสอบที่สร้างขึ้นโดยการกำหนดมาตรฐานด้วยวิธีบุ๊คมาร์ค กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่มคือ 1) ผู้ตัดสิน คือ อาจารย์ที่สอนรายวิชา การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน จำนวน 6 คน 2) ผู้สอบ คือ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะศึกษาศาสตร์ ที่ลงเรียนรายวิชา 400204 การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน ปีการศึกษา 2553 ใช้วิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม (cluster sampling) จำนวน 667 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบวัดผลสมัฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนประเภทที่เลือกตอบที่พัฒนาแล้ว ฉบับที่ 1 มีค่าความยากระหว่าง -2.50 ถึง 3.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .49 ถึง .88 และค่าการเดาระหว่าง .11 ถึง .29 และประเภทอัตนัย ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .98 และค่าความยากมีค่าระหว่าง -2.17 ถึง .47 ส่วนฉบับที่ 2 ค่าความยากระหว่าง -1.39 ถึง 3.00 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .50 ถึง .90 และการเดาระหว่าง .11 ถึง .29 และประเภทอัตนัย ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ .47 และค่าความยากระหว่าง -0.98 ถึง .59
2) ค่าสารสนเทศของแบบสอบถามฉบับที่ 1 อยู่ในช่วงประมาณ 3.9 ถึง 5.0 และมีค่าสูงสุดอยู่ที่ระดับความสามารถ ประมาณ -1.0 ฉบับที่ 2 ค่าสารสนเทศของแบบสอบถามอยูในช่วงประมาณ 3.9 ถึง 12.0 และมีค่าสูงสุดอยู่ที่ระดับความสามารถประมาณ -0.5
3) คะแนนขุดตัดที่อยู่ในรูปคะแนนดิบและคะแนนความสามารถ จากแบบสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวัดและประเมินในชั้นเรียน ซึ่งกำหนดคะแนนจุดตัดด้วยวิธีบุ๊ค 7 ระดับ ดังนี้ (A) เท่ากับ 109 (1.453) ระดับดีมาก (B+) เท่ากับ 91 (1.293) (B) เท่ากับ 83 (1.203) ระดับดีพอใช้ (C+) เท่ากับ 65 (1.133) ระดับพอใช้ (C) เท่ากับ 49 (1.093) ระดับอ่อน (D+) เท่ากับ 30 (1.0130) และระดับอ่อนมาก (D) เท่ากับ 13 (.933)