Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนของนิสิตคณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2554 มหาวิทยาลัยบูรพาในด้านความถี่ ระยะเวลา โอกาส วัตถุประสงค์ ความสามารถ ปัญหา การแก้ปัญหา และความสนใจ จำแนกตามเพศและชั้นปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 152 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. นิสิตคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีพฤติกรรมมการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย
พบว่า ด้านที่นิสิตมีพฤติกรรมในการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในระดับปานกลางมี 6 ด้าน คือ วัตถุประสงค์ การแก้ปัญหา ความสนใจ โอกาส ปัญหา และความสามารถ ด้านที่นิสิตมีพฤติกรรมในการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในระดับน้อยมี 2 ด้าน คือ ระยะเวลาและความถี่
2. นิสิตชายและนิสิตหญิง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีพฤติกรรมการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนไม่แตกต่างกัน
3. นิสิตชั้นปีที่ 1-4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีพฤติกรรมการอ่านสื่อสิ่งพิมพ์ภาษาจีนด้านความถี่ ด้านการแก้ปัญหา และด้านความสนใจ ด้านวัตถุประสงค์ ด้านความสามารถ และด้านปัญหาไม่แตกต่างกัน
The purpose of this study was to study was to examine and compare Chinese printed media reading behaviors of students in the Faculty of Humanities and Social Sciences at Burapha University. The issues studied in reading Chinese printed media included frequency, time spent, opportunity, objevtive, ability, problems arising when reading, problem-solving, and interest shown. Students were grouped according to gender and class levels. The sample size consited of 152 first to fourth year students who were studing Chinese lanuage during the academic year of 2008 at Burapha. The research instrument usde for data collection was a questionnaire containing five rating scales. Statistical analyses included percentages, meand, standard deviations, t-test, and One-way ANOVA. The LSD method was used to test for differences in couples.
The findings were as follows:
1. The overall Chinese printed media reading behaviors of students from the Faculty of Humanities and Social Science were at a moderate level When considering each issue from the highest to the lowest, it was found that 6 issues were at a moderate level, including objective, problem-solving, interest, opportunity, problems arising while reading, and ability, However the 2 issues of time spent, and frequency, were at a low level.
2. The Chinese printed media reading behaviors of male and femaie students in the Faculty of Humanities ans Social Sciences at Burapha University were not signicantly different.
3. The Chinese printed media reading behaviors of the 1 st to 4 th year student in the Faculty of Humanities and Social Sciences at Burapha University showed that frequency, problem-solving, and interest issues differed at a statistical significance of .05. The other issues of objective, interest, opportunity, problems arising while reading, ability, time spent, and frequency were not significantly different.