DSpace Repository

การพัฒนาคอนกรีตที่ทนทานต่อการทำลายของน้ำทะเล

Show simple item record

dc.contributor.author ทวีชัย สำราญวานิช
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.available 2019-03-25T08:47:21Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/252
dc.description.abstract โครงการวิจัยนี้มุ่งพัฒนาคอนกรีตที่ทนทานต่อการทำลายของน้ำทะเล โดยได้ศึกษาการขยายตัวของมอร์ต้าร์ที่แช่ในสารละลายโซเดียมซัลเฟต ซึ่งใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.50 0.55 และ 0.60 อัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยสารปอซโซลานที่ 0.20 0.40 และ 0.60 สารปอซโซลานที่ใช้ ได้แก่ เถ้าลอย เถ้าแกลบและตะกรันเตาถลุงเหล็ก และได้ศึกษาการสูญเสียกำลังอัดของมอร์ต้าร์ที่แช่ในสารละลายแมกนีเซียมซัลเฟต นอกจากนี้ได้ศึกษาความต้านทานการแทรกซึมของเกลือคลอไรด์ในซีเมนต์เพสต์ด้วย จากผลการทดลองความคงทนของการทำลายของซัลเฟตพบว่า มอร์ต้าร์ที่อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.50-0.55 และอัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอย 0.20-0.40 มีการขยายตัวน้อยที่สุด มอรืต้าร์ที่แทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยและเถ้าแกลบในอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานมีการสูญเสียกำลังรับแรงอัดมาก ส่วนมอร์ต้าร์ที่แทนที่วัสดุประสานด้วยตะกรันเตาถลุงเหล็กไม่มีการสูญเสียกำลังอัด และจากผลการศึกษาความต้านทานการแทรกซึมคลอไรด์ของซีเมนต์เพสต์พบว่า ซีเมนตืเพสต์ที่มีอัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานต่ำและอัตราส่วนแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอย 0.40 จะมีการแทรกซึมคลอไรด์ดเข้าไปน้อยที่สุด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าส่วนผสมคอนกรีตที่ทนทานต่อการทำลายทั้งซัลเฟตและคลอไรด์ควรใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสานต่ำ และใช้เถ้าลอยแทนที่บางส่วนของวัสดุประสานในอัตรา 0.40 This research project aims to develop the durable concrete for seawater attack. The expansion of Portland cement type I mortar with water to binder ratio of 0.50, 0.55 and 0.60 and pozzolan to binder ratio of 0.20, 0.40 and 0.60 in sodium sulfate solution were studied. The pozzolans were fly ash, rice husk ash and blast furnace slag. The strength reduction of mortar in magnesium sulfate solution was also investigated. Furthermore, the chloride penetration resistance of cement pastes was also studied. From the experimental results of durability of sulfate attack, it was found that mortar with water to binder ratio of 0.50-0.55 and fly ash to binder ratio of 0.20-0.40 has the lowest expansion. Mortars with fly ash and rice husk ash at all water to binder ratios have high strength reduction while mortar with blast furnace slag has no strength reduction. From the results of chloride penetration resistance, it was found that cement paste with lower water to binder ratio and fly ash to binder ratio of 0.40 has the lowest chloride penetration Therefore, it can be concluded that concrete mix for durable to sulfate and chloride attacks should be low water to binder ratio and use fly ash as a replacing material of binder at the ratio of 0.40 th_TH
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผ่านคณะกรรมการบริหารเครือข่ายการวิจัยภาคตะวันออก ประจำปีงบประมาณ 2550 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject คอนกรีต th_TH
dc.subject เถ้าลอย th_TH
dc.subject เถ้าแกลบ th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
dc.title การพัฒนาคอนกรีตที่ทนทานต่อการทำลายของน้ำทะเล th_TH
dc.title.alternative Development of durable concrete for seawater attack en
dc.type งานวิจัย
dc.year 2552


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account