DSpace Repository

บ้านเรียนมรดกใหม่: การให้การศึกษาแบบองค์รวมผ่านละคร

Show simple item record

dc.contributor.author ภารดี มหาขันธ์
dc.contributor.author ฐานชน จันทร์เรือง
dc.contributor.author ยิ่งยศ เทพจำนงค์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.available 2019-03-25T09:16:01Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2526
dc.description.abstract การวิจัยเรื่อง บ้านเรียนมรดกใหม่: การให้การศึกษาแบบองค์รวมผ่านละคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการเรียนการสอนของบ้านเรียนมรดกใหม่เรื่องวิธีการให้ความรู้แบบองค์รวมผ่านละครแก่เยาวชน รวมถึงพัฒนาการของบ้านเรียนมรดกใหม่และความแตกต่างจากบ้านเรียนอื่น ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ขอบเขตด้านเวลา คือ พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2555 ผลการศึกษาพบว่า บ้านเรียนมรดกใหม่เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก มีนักเรียนประมาณ 40 คน และครู 16 คน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอน ใช้รูปแบบของบ้านเรียนประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของนักการละคร ซึ่งพัฒนาการมาจากการเป็นคณะละครที่ผลิตละครเวทีสัญจรเพื่อการศึกษา โดยก่อนหน้านั้นภายใต้การนำของ อาจารย์ชนประคัลภ์ จันทร์เรือง คณะละครมรดกใหม่มีวิวัฒนาการจากรายการโทรทัศน์ มาสู่ละครเวทีเชิงพาณิชย์ จนค้นพบแนวทางของการใช้ละครเพื่อพัฒนาและสนับสนุนการศึกษาในระบบจนถึงการใช้ละครเพื่อสร้างการศึกษาการเรียนรู้แบบองค์รวม ทั้งในมิติการใช้ชีวิตและการทำงาน สรา้งหลักสูตรเฉพาะคนและผ่านการรับรองจาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดปทุมธานี ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ การให้การศึกษาแบบองค์รวมของบ้านเรียนมรดกใหม่มีวิธีการคือ ใช้ละครเป็นจุดเริ่มต้น นักเรียนจะได้เรียนรู้วิชาต่าง ๆ ทั้งแปดกลุ่มสาระการเรียนรู้ผ่านการแสดงละครในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของวิชานั้น ๆ จากนั้น ครูผู้สอนจะเชื่อมโยงและอธิบายเนื้อหาของวิชาน้น ๆ จากนั้นครูผู้สอนจะเชื่อมโยงและอธิบายเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ให้กับนักเรียน รวมทั้งการให้นักเรียนเป็นผู้สรา้งละครด้วยตนเองด้วย บ้านเรียนมรดกใหม่มีวิธีการศึกษาแบบผสมผสานหลายวิธีดังนี้ ศึกษาโดยยึดหลักปรัชญา 6 ข้อของคณะละครมรดกใหม่ ได้แก่ 1) พร้อมใจกันทำพร้อมใจกันเลิก 2) ทำแล้วทำเล่าจนทำได้ 3) อยู่อย่างต่ำทำอย่างสูง 4) แผ่วที่ผล ทำที่เหตุ 5) ไม่มีเรื่องเล่าที่เล่า ไม่ได้มีแต่นักแสดงที่เล่าไม่เป็น 6) เป็นอย่างที่กิน เป็นอย่างที่อ่าน เป้นอย่างที่สอน ปรัชญาทั้งหกข้อนี้เป็นทั้งการฝึกฝนและกฎระเบียบไปในตัว, ศึกษาด้วยหลักอาวุโสนิยมและการ DRILL (การฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง) เรียนรู้การใช้ชีวิตระบบสำนัก เคารพรุ่นพี่และผู้อาวุโส ฝึกฝนทักษะของตนเองอย่างต่อเนื่อง, ศึกษาด้วยองค์ประกอบของละคร นักแสดง เรื่องราวคนดู ตามวิธีการของคณะละครใหม่ เชื่อมโยงวิธีคิดของตัวละครกับสถานการณ์จริงในปัจจุบันของสังคม เปรียบเทียบครอบครัวของตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อมกับเรื่องราวในละคร, ศึกษาด้วยการเชื่อมโยงแปดกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ศึกษาบทละครและการเล่นละคร 2) ศึกษาผ่านการเดินทางในวิถีชีวิตของการเป็นนักการละคร 3) ศึกษาผ่านการอ่านหนังสือ 4) ศึกษาผ่านบทเพลง 5) ศึกษาผ่านภาพยนตร์ 6) ศึกษากับวิทยากรพิเศษที่มีความสามารถเฉพาะทางนั้น ๆ วิธีการเชื่อมโยงแปดกลุ่มสาระการเรียนรู้นี้จะเลือกวิะีการศึกษาโดยพิจารณาจากความพร้อม ความสนใจ และทักษะของผู้เรียนที่แตกต่างกันไป และในด้านความแตกต่างจากบ้านเรียนอื่น ๆ นั้น บ้านเรียนมรดกใหม่มีวิธีการสอนที่ผสมผสานและมีเอกลักษณ์รวมทั้งมีการรวมเด็กบ้านเรียนมาเรียนรวมกันซึ่งแตกต่างจากบ้านเรียนปกติที่จัดการศึกษาโดยครอบครัว สถานศึกษาที่มีรูปแบบใกล้เคียงคือ โรงเรียนภัทรวดีมัธยมศึกษา มีการใช้ละครเชื่อมโยงและบูรณาการแปดกลุ่มสาระเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่จดทะเบียนเป็นโรงเรียนสามัญ ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาบ้านเรียนมรดกใหม่มีนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสองรุ่น รุ่นแรกเจ็ดคน (พ.ศ. 2553) จบแล้วก็แยกย้ายกันไป รุ่นที่สองเจ็ดคน (พ.ศ. 2554) สามารถสอบเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยวิศวะภารตี เมืองศานติเนกัน ประเทศอินเดีย สาขาวิชาการละครได้ทั้งหมด th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การบริหารการศึกษา th_TH
dc.subject การศึกษา th_TH
dc.subject การศึกษาตามอัธยาศัย th_TH
dc.subject ละครเวที th_TH
dc.subject สาขาปรัชญา th_TH
dc.title บ้านเรียนมรดกใหม่: การให้การศึกษาแบบองค์รวมผ่านละคร th_TH
dc.title.alternative Moradokmai homeschool: Holistic education via theatre en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 37
dc.volume 21
dc.year 2556
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study the methods of Moradokmai Home School on using theatre as a holistic education medium for youth and its results. And to study the difference between Moradokmi home Scohhl and other home school. This study is a qualitative research conducted from 2008 to 2012. The results founede that Moradokmai Home School is a small educational institute, with about 40 students and 16 teachers There is no tuition fee; the home schooling system is developed from a touring educational theatre group led by Janapakal Chanruang. Moradokmai Theatre Group started of by producing telcvision programs, then transformed into a commercial theatre group and later evolved into the current educational and development theater group which use theater as a holistic education medium. The curriculum is approved by the Patumthani District1 Education Board under the Ministry of Education. The methods started with theatre as its foundation, students will learn the eight group of study branches via theatre story that related to those study branches, than the teacher will explain the subject to the students. The methods are developed around 6 core values 1) Do it together, Finish it together, 2) Do it until you can do it, 3) Live low, Act high, 4) Forget the result, focus on the cause, 5) There are no story that cannot be told, only incapable storyteller, 6) Be as you eat, be as you read, be as you teach. These 6 core values are both rules and practices. The learning methods are based on seniority and drill (continuous practices) – students learn to respect their senior and elder, continuously developing their skills, prepared to connect different body of knowledge, analyzing theatre elements-actor, story, and audience –by the Moradokmai ways, comparing the situation of the characters in the story with the current situation in the society, learned about themselves, their community, and the environment The eight braches of study are also learned by 1) Via theater play, 2) via traveling as a dramatist, 3) via music, 5) via movies, 6) via special lecturer with specialized skills and knowledge. The students are selected to study each braches based on their individual skills, interests, and readiness, which is different from other home school. Moradokmai Home School has an integrated and distinctive system which brings home schooling students together, comparing to the home school managed by family. Similar educational institute is Patravadee High School, which used theater as a medium to learn eight study braches, but it is licensed as a regular school. Moradokmai Home School have two class which already graduated- Class of 2010, with students, and class of 2011, with 7 students which can gey into Visva Bharasti University, Santiniketan, India. en
dc.journal วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.page 175-208.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account