Abstract:
การศึกษาเรื่อง การบูรณาการข้อมูลงานวิจัย้เกี่ยวกับการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลตลอดจน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และบูรณาการงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตัณฑ์และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประชากรที่สสนใจศึกษาในการวิจัยนี้ คือ งานวิจัยที่ได้พิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มสมบูรณ์ในพ.ศ. 2544- 2548 เกี่ยวกับการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้พิมพ์เผยแพร่เป็นรูปเล่มใน พ.ศ. 2538 - 2548 โดยวิธีการเลือกตัวอย่าง คือ งานวิจัยที่เกี่ยวกับการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จำนาวน 31 เล่ม และการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวน 36 เล่ม ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกงานวิจัยด้วยแบบประเมินจาก
ผู้เชี่ยวชาญและแบบบันทึกเนื้อหาและรายงานการวิจัย
ผลการศึกษา สามารถสรุป ส่วนใหญ่ศึกษางานวิจัยการจัดการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มากที่สุดใน พ.ศ. 2547 เป็นปริญาตรีนิพนธ์/ วิทยานิพนธ์ระดีบปริญญาโท เนื้อหาที่ทำวิจัย คือการวิจัยและพัฒนาและการตลาดและการขาย มุ่งประเด็นที่ทำวิจัยคือ ด้านนโยบายและการวางแผน และกลยุทธ์การจัดการ ศึกษาที่ภาคกลาง ด้วยการวิจะยเชิงสำรวจศึกษาจากผู้ประกอบการ ไม่มีกการสุ่มตัวอย่างและไม่มีการตั้งสมมติฐานใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและสถิติเชิงพรรณนาที่ใช้คือ ค่าร้อยละ งานวิจัยด้านการจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมส่วนใหญ่ศึกษาในพ.ศ. 2548 เป็นปริญญานิพนธ์/ วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ศึกษาในเนื้อหาที่ทำวิจัย ด้านการวิจัยและพัฒนา และการจัดการทั้ว ๆ ไป มุ่งประเด็นที่ทำวิจัยคือ กลยุทธ์การจัดการ ศึกษาที่ภาคกลาง ด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาจากผู้ประกอบการ ไม่มีการสุ่มตัวอย่างและไม่มีการตั้งสมติฐาน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ
การสังเคราะห์เชิงบูรณาการนี้จะพิจารณา 3 ประเด็น ได้แก่ การตั้งโจทย์การวิจัย การสร้างความเป็นเจ้าของงานและการวิจัยในฐานเครื่องมือการเรียนรู้ โดยมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ผู้ประกอบการ การบริหารจัดการ และผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้เงื่อนไข 3 ระบบ ได้แก่ระบบการส่งเสริมของภาครัฐ ระบบการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และระบบการสร้างความสัมพันธ์แบบห่วงโซ่คุณค่า โดยมีสมติฐานว่าในอดีตเคยมีอยู่ ตี่อาจจะอ่อนแอไปด้วยเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักวิจัยต้องเริ่มตั้งคำถามในแง่ต่าง ๆ ศักยภาพของผู้ประกอบการ ควรใช้โอกาสที่สำคัญของการพัฒนาผู้ประกอบการตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เข้มแข็งและรวมกันเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) หรือ เครื่อข่ายธุรกิจ และทำอย่างไรให้ปัจจัยภายนอกได้แก่ ความรู้ เทคโนโลยี และโครงการพัฒนาต่าง ๆ ที่ “คนนอก” พยายามนำเข้าไปใส่ให้ผู้ประกอบการในภูมิภาค สามารถสร้างให้เกิดผลกระทบทางบวกต่อศักยภาพของผู้ปรพกอบการระดับภูมิภาค ที่อยู่บนฐานต่าง ๆ ทั้งฐานทรัพยากร ฐานเครื่อข่ายทางสังคม ฐานระบบความรู้ และฐานระบบคุณค่าและความเชื่อ หรือการพัฒนาเกิดจากกระบวนการสร้างแรงผลักดันและเติบโตจากภายใน ที่เป็นแสดงถึงความเป็น “เจ้าของ” งานพัฒนามากขึ้น และการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้ประกอบการ โดยอาจจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับการวิจัยในฐานะเครื่องมือสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้มากขึ้น โดยหวังผลให้การวิจัยสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับท่าที ทัศนะ ความรู้สึกนึกคิด ความเข้าใจหรือการสร้างวิธีคิดใหม่ของคนในภูมิภาคนั้น
ผลการสังเคราะห์เนื้อหางานวิจัยยังพบจุดอ่อนที่สำคัญคือ ถึงแม้ภาครัฐจะได้กำหนดนโยบายช่วยสนับสนุนวิสาหกิจเหล่านั้นแล้วก็ตาม แต่ทางผู้ประกอบการวิสาหกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่วนใหญ่ก็ยังขาดความรู้และทักษะในการเป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการขาดความเข้าใจสภาพแวดล้อมด้านการจัดการที่ดีพอ ตลอดจนเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสมตามสภาพแวดล้อมทางการจัดการที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา จำเป็นต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างรู้จริงภายใต้สังคมแห่งฐานความรู้ (Knowledge-based Society) ทั้งนี้ข้อเสนอแนะการวิจัยเชิงบูรณาการได้แก่ การขยายเครือข่ายทางสังคมวิจัยและร่วมมือของนักวิชาการและผู้บริหารงานให้กว้างขึ้นซึ่งช่วยทำให้พลังในการพัฒนาการประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมระดับประเทศจากมาตรการส่งเสริมที่เข้มแข็งขึ้นด้วยนั่นเอง