Abstract:
การวิจัยปฎิบัติการมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์เครือข่ายการจัดการอุบัติเหตุจราจรทางถนนพื้นที่ศึกาษาอยู่ใน อำเภอเกาะช้าง เมือง และเขาสมิง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น ผู้ที่รับผิดชอบปฎิบัติงานเกี่ยวกับการจัดการอุบัติเหตูอุบัติเหตุจราจรทั้งภาครัฐและเอกชนของสามพื้นที่ศึกษา ใช้เครื่องมือที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว7 ชุดเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพจนได้ข้อมูลที่อิ่มตัววิเคราะห์สถิติเชิงพรรณาในรูปจำนวน ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหาซึ่งผ่านการตรวจสอบสามเส้า ได้ผลการวิจัยโดยสรุปคือ
บริบทสำคัญที่ใช้ประกอบในการวางแผนคือ การวิเคราะห์จุดเสี่ยงและสภาพแวดล้อมของการเกิดอุบัติเหตุ พบว่าอำเภอเกาะช้างมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุดและใน 3 อำเภอพบตำบลเสี่ยง 8 ตำบลจุดเสี่ยงที่สำคัญ 30 จุดคือ พบในอำเภอเกาะช้าง 5 จุด อำเภอเมือง 9 จุด อำเภอเขาสมิง 16 จุด
อำเภอเกาะช้าง ส่วนใหญ่เป็นถนนแคบโค้งหักศอก ถนนขึ้นลงเนินลาดชัน ไม่มีไหลทางมีนักท่องเที่ยวต่างชาติและต่างพื้นที่ขับขี่ยานพาหนะโดยไม่คุ้นเคยกับกฎจราจรของไทยและสัญญาณจราจรยังไม่เป็นสากล
อำเภอเมือง สภาพถนนเป็นทางแยกมีซอยย่อยหลายซอย เกาะกลางมีต้นไม้สูงบังสายตาถนนรองแคบลาดเอียงสู่ถนนสายหลัก ซึ่งกว้างมากทำให้รถวิ่งเร็วและมีรถจอดพักบริเวณไหล่ทางช่วงกลางคืนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่รถที่เป็นปัญหา
ส่วนอำเภอเขาสมิง บางจุดถนนโค้งมากเป็นเนินและมืดมาก ขาดไฟกระพริบและไม่มีไหลทางจุดกลับรถใกล้ทางแยก มีพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆและสภาพรถที่เป็นปัญหาเช่นกัน
แผนกลยุทธ์เครือข่าย การจัดการอุบัติเหตุจราจรบนถนนที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับมากกว่าร้อยละ 70 มีความสอดคล้องกับบทบาทการดำเนินงาน ก่อนจนถึงหลังเกิดเหตุ ของหน่วยงานที่เกื่ยวข้อง ซึ่งการจัดทำแผนนี้ได้จากการประเมินเสริมพลัง การประชุมกลุ่มเฉพาะ และผ่านการเห็นชอบจากผู้เชี่ยววาญได้แผลกลยุทธ์โดยรวม 4 พันธกิจ 8 ยุทธศาสตร์ และ 50 กลยุทธ์แยกเป็นแผนกลยุทธ์อำเภอเกาะช้าง อำเภอเมือง และอำเภอเขาสมิง 40,39,36 กลยุทธ์ตามลำดับ ซึ่งข้อเสนอสำคัญในแผนคือการจัดระบบศุนย์เตือนภัย/รับแจ้งเหตูทางถนนที่มีประสิทธิภาพ สร้างระบบโครงข่ายถนนปลอดภัย สนับสนุนงบประมาณ แรงจูงใจในทุกภาคส่วน สร้างพื้นฐานของสังคมสู่วัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยทางถนนสร้างพื้นฐานของสังคมสู่วัฒนธรรมปฎิบัติตามกฎหมาย วิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขลักษณะเสี่ยงของถนน ดังนั้นหากได้มีการนำแผนกลยุทธ์นี้นำไปใช้อย่างต่อเนื่องในเครือข่าย จะช่วยให้การจัดการอุบัติเหตุจราจรทางถนนของจังหวัดตราดเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น