Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้เนื่องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดชลบุรีแยกตามตัวแปร ตำแหน่ง เพศ และการศึกษา ระยะเวลาการการเป็นผู้นำ และเพื่อศึกษา ปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาจากจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จำนวน 263 คน โดยได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) ผลการวิจัยพบว่า
1. ในภาพรวมผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรีมีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรองลงมาคือ ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการป้องกันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. ผู้นำท้องถิ่นที่มี เพศ ระดับการศึกษา และ ตำแหน่งแตกต่างกัน มีบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. ผู้นำท้องถิ่นที่มีอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 โดยพบว่า ผู้นำท้องถิ่นที่มีอายุตั้งแต่ 51 ปี ขึ้นไป มีบทบาทของผู้นำท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสูงกว่า ผู้นำท้องถิ่นที่มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี อายุระหว่าง 31 - 40ปี และ อายุระหว่าง 41-50 ปี
4. ผู้นำท้องถิ่นที่มีเวลาการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายได้พบว่า มีบางรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ ผู้นำที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง 3 วาระ (มากกว่า 8 ปี) มีบทบาทในการจัดการด้านการด้านฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สูงกว่าผู้นำที่มีเวลาดำรงตำแหน่ง 1 วาระ (1-4 ปี) และ 2 วาระ (5-8) ปี ตามลำดับ