Abstract:
การปนภาษา (code-mixing) หมายถึงการปนหน่วยต่าวๆทางภาษาศาสตร์เช่นหน่วยคำ คำ วลีและประโยคย่อยจากภาษาอย่างน้อยสองภาษาภายในประโยคเดียวกัน เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นภายในประโยคโดยมีข้อจำกัดคือหลักเกณฑ์ทางไวยกรณ์และมีปัจจัยทางจิตวิทยาเชิงสังคมเป็นตัวขับเคลื่อน เป็นกรากฎการณ์หนึ่งของการสัมผัสภาษาที่เกิดขึ้นในสังคมที่เป็นชุมชนหลายภาษาซึ่งได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมโลกาภิวัฒน์
กีฬาและการออกกำลังกายเป็นความนิยมในยุคปัจจุบัน กีฬาหลายชนิดมีกำเนิดจากต่างประเทศ จึงปรากฎว่าสื่อมวลชนไทยมีการปนภาษาต่างประเทศในการรายงานข่าวกีฬามากจนสังเกตได้ชัด กีฬาที่แพร่หลายมากที่สุดชนิดหนึ่งคือฟุตบอล ฟุตบอลได้รับความนิยมอย่างสูงจากทั่วโลก ในประเทศไทยการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกทางโทรทัศน์มีครบทุกคู่โดยบรรยายสดเป็นภาษาไทย อยางไรก็ตาม เนื่องจากประชาชนทั่วโลกมีส่วนร่วม จึงเกิดการปนภาษาอย่างมาก
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเกี่ยวกับการปนภาษาในการบรรยายสดฟุตบอลโลก ๒๐๑๐ ทางโทรทัศน์ไทยในด้านต่อไปนี้คือ ภาษาที่มา ระดับการปนภาษา โครงสร้างของถ้อยคำ และการเปลี่ยนแปลงทางไวยกรณ์ การใช้และความหมาย
ข้อมูลได้จากการบรรยายสดฟุตบอลโลก ๒๐๑๐ โดยการจดถ้อยคำที่ผู้บรรยายพูดทั้งหมดที่มีคำและวลีภาษาต่างประเทศปนอยู่ ในการแข่งขันตั้งแต่เริ่มการแข่งขันจนสิ้นสุดการแข่งขันแต่ละนัดโดยเว้นระยะตอนพักครึ่ง ถ้อยคำเหล่านั้นถูกแบ่งเป็นประเภทตามภาษาที่มา โครงสร้าง หมวด คำ(ชนิดคำทางวจีภาค) และหน้าที่ในบริบทภาษาไทย
ผลการวิจัยปรากฎว่า พบการปนภาษาในระดับคำและวลี โดยมีที่มาจากภาษาต่างๆ ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ญี่ปุ่น โปรตุเกส รัสเซีย แอฟริกาใต้(ซูลูและงูนี) และสเปน คำและวลีบางตามที่มาเป็นคำศัพท์ทั่วไป ศัพท์ที่เกิดจากชื่อเฉพาะและคำย่อ และแบ่งตามหมวดคำ(ชนิดคำทางวจีภาค) เป็นคำที่เป็นได้ชนิดเดียว (คำนาม คำกริยา และคำคุณศัพท์) และคำที่เป็นได้หลายชนิด การเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดพบทั้งในด้านวจีภาค การใช้คำตามบริบท และความหมายการเปลี่ยนแปลงทางไวยกรณ์ที่เห็นได้ชัดได้แก่การเปลี่ยนชนิดของคำ การใช้รูปกรรตุวาจกและกรรมวาจกที่ไม่ตรงกัน และการใช้รูปกริยา simple verb กับ participle หรือ gerund ที่ไม่ต่างกันในภาษาไทย นอกจากนั้นยังมีคำประสมและวลีซึ่งสร้างขึ้นจากคำต่างประเทศกับคำไทย และคำต่างประเทศทั้งหมดโดยเรียงคำแบบภาษาไทยด้วย ในด้านการเปลี่ยนแปลงความหมาย พบทั้งความหมายแคบเข้า กว้างออก และย้ายที่ พร้อมด้วยคำและวลีออกเป็นจำนวนมากที่ไม่เปลี่ยนแปลงความหมาย
มีข้อสังเกตอีกหลายประการในการวิจัยครั้งนี้ เช่น คำภาษาอังกฤษมีจำนวนมากและอยู่ในหมวดคำมากหมวดกว่าภาษาอื่นๆ ซึ่งมีแต่คำนามและนามวลีเท่านั้น คำบางคำถูกตัดให้สั้น เพราะคนไทยมีรสนิยมชอบคำสั้น คำบางคำมีคำแปลภาษาไทยแต่แทบไม่ได้ใช้ และคำบางคำผู้บรรยายก็เอ่ยคำแปลออกมาด้วยเพื่อให้ความกระจ่างแก่ผู้ชม
Code-mixing refers to the mixing of various linguistic units (morphemes, words, modifiers,phrases, clauses, and sentences) from two participating grammatical systems within a sentence, constrained by grammatical principles and motivated by sociopsychological motivations. It is a phenomenon of language contact occurring in a multilingual society influenced by globalized culture.
Sports and exercise are among international trends of the period. A large number of sports are of foreign origins, causing obvious code-mixing in sports reports on Thai media. One of the most popular games is football. The FIFA World Cup has established its popularity among people all over the world. In Thailand live matches are broadcast on TV along with live commentary in Thai. Nevertheless, due to the worldwide contribution, code-mixing occurs widely.
The aim of this research is to study the following aspects of code-mixing in the live commentary of the 2010 FIFA World Cup on Thai television, namely, the original languages, the levels of mixing, the structure, and the changes in grammatical form, usage and meaning.
Corpus is obtained from the live commentary of the 2010 FIFA World Cup through note-taking of all expressions containing foreign words and/or phrases uttered by the Thai commentators and phrases are categorised regarding their languages, their structures, their parts of speech and their contextual functions in Thai.
The results are that code-mixing is found in word-and-phrase levels, and consists of words and phrases from the following languages, namely, English, French, German, Italian, Japanese, Portuguese, Russian, South African(Zulu and Nguni)Spanish. The words and phrases above can be categerised with regard to their structures into general items, those originated from proper nouns, and abbreviations. They can also be categorized with regard to their classes (parts of speech) and usage into those to one word-class only (namely, noun, verb and adjective) and those belonging to more than one word-class. There are significant changes in their part of speech, their contextual functions and their meanings. Grammatical changes in Thai usage are found such as the change of word-class, the altered se of active and passive forms, and the identical use of simple verbs and their participle forms. There are compounds and phrases formed by Thai and foreign words as well as both foreign words with Thai word-order. Regarding the changes of meaning , all of the narrowing, widening and transference of meaning are found together with words and phrases retaining their original meaning.
There are various remarks on the findings of the research, such as English expressions are more in number and belong to more word-classes than those form any other language, while only nouns and noun phrases from other languages are found. Some of the words are clipped due to the Thai preference of shorter words. Some have their Thai correspondence but are rarely used, and some are uttered by the commentators along with their Thai translations to make them clearer to the viewers.