Abstract:
การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพและการสืบทอดของการแสดงพื้นบ้าน รวมถึงปัจจัยในการดำรงอยู่ของสื่อการแสดงพื้นบ้าน โดยใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ฝึกซ้อมและการแสดง และการจัดเวทีสัมมนา ผลการศึกษาพบว่า 1) สื่อการแสดงพื้นบ้านภาคตะวันออกที่ศึกษาส่วนใหญ่มีสถานภาพที่เข้มแข็ง เป็นสื่อที่เน้นรับงานในช่วงธุรกิจ รวมทั้งมีสื่อของกลุ่มชาติพันธ์ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อสถานภาพ ได้แก่ เครือข่าย การสนับสนุนจากชุมชน การสืบทอดในโรงเรียน ผู้ขับเคลื่อนหลัก การศึกษาวิจัย และ พื้นที่ประเพณี 3) สื่อการแสดงพื้นบ้านทุกประเภทจะสืบทอดรูปแบบ คือ ทักษะการแสดงและการเล่นดนตรี ในขณะที่การสืบทอดในส่วนของความสัมพันธ์ในกลุ่มศิลปินและความสำคัญกับสื่อการแสดงพื้นบ้านอื่นยังมีน้อย 4) การสืบทอดสื่อการแสดงพื้นบ้านตามแนวคิดการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมเน้นกระบวนการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม 2) องค์ประกอบที่มีกรสืบทอดอย่างเข้มแข็ง คือ องค์ประกอบด้านศิลปิน ส่วนองค์ประกอบที่มีการสืบทอดอย่างอ่อนแอ คือการสืบทอดผู้ชม 6) สื่อการแสดงพื้นบ้านเชิงธุรกิจ สืบทอดโดยปรับตามรสนิยมของผู้ชม ในขณะที่สื่อการแสดงพื้นบ้านที่ไม่ใช่ธุรกิจส่วนใหญ่เป็นสื่อชาติพันธ์สืบทอดโดยยึดหลักสิทธิเจ้าของวัฒนธรรมโดยเน้นบทบาทด้านอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์