DSpace Repository

ความต้องการของนักเรียนมัธยมปลายในจังหวัดชลบุรีที่มีต่อการเข้าร่วมฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์.

Show simple item record

dc.contributor.author กมลชนก เศรษฐบุตร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:12:39Z
dc.date.available 2019-03-25T09:12:39Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2106
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง “ความต้องการของนักเรียนมัธยมปลายในจังหวัดชลบุรีที่มีต่อการเข้าร่วมฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าร่วมและความต้องการเข้าร่วมฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์ของนักเรียนมัธยมปลายในจังหวัดชลบุรี เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการของนักเรียนมัธยมปลายที่มีต่อการเข้าร่วมฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์ และเพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การเข้าร่วมฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์ กับ ความต้องการเข้าร่วมฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนมัธยมปลาย ๙๘๘ คน จากจำนวนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอยู่ทั้งหมด ๑๖,๔๗๕ คนในจังหวัดชลบุรี กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากโรงเรียนใน ๔ อำเภอของจังหวัดชลบุรี วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ด้วยการใช้ T-Test, F-Test และ Pearson Correlations ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างของเพศ อานุ แผนการเรียนที่ศึกษา และรายได้ ไม่มีผลต่อความต้องการในการฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์ ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์เข้าร่วมฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์กับความต้องการเข้าร่วมฝึกอบรมโรงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์นั้น ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่มีประสบการณ์เคยได้รับ การอบรมจะมีความต้องการฝึกอบรมในหัวข้อดังกล่าวซ้ำอีก ในขณะเดียวกันนักเรียนที่ไม่เคยได้รับการอบรมก็จะไม่มีความต้องการฝึกอบรมในหัวข้อดังกล่าว เป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกหัวข้อการฝึกอบรม สำหรับในทางด้านพฤติกรรมนั้น นักเรียนมัธยมปลายจังหวัดชลบุรีเคยได้รับการอบรมด้านนิเทศศาสตร์อยู่ในระดับที่น้อยถึงน้อยที่สุด และมีความต้องการอบรมด้านนิเทศศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางถึงน้อย นักเรียนมัธยมในจังหวัดชลบุรีส่วนใหญ่ทราบข่าวการอบรมต่างๆ จากประกาศของโรงเรียนและจากอาจารย์ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่นักเรียนสามารถจ่ายได้ในการเข้าร่วมการฝึกอบรมแต่ละครั้งโดยเฉลี่ยเท่ากับ ๖๒๘.๖๕ บาท ในการเดินทางไปฝึกอบรมนั้น โดยส่วนใหญ่สามารถเดินทางไปได้ด้วยตนเอง และจำนวนวันที่นักเรียนสะดวกในการไปเข้าร่วมการฝึกอบรม โดยเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๓ วัน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การฝึกอบรม th_TH
dc.subject ความต้องการการฝึกอบรม th_TH
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา - - การฝึกอบรม th_TH
dc.subject นิเทศศาสตร์ th_TH
dc.subject สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ th_TH
dc.title ความต้องการของนักเรียนมัธยมปลายในจังหวัดชลบุรีที่มีต่อการเข้าร่วมฝึกอบรมโครงการฝึกอบรมด้านนิเทศศาสตร์. th_TH
dc.title.alternative Needs in senior high school students in Chonburi towards the participation in curriculum training in communication arts en
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 33
dc.volume 20
dc.year 2555
dc.description.abstractalternative A research on ‘Needs in Senior High School Students in Chonburi towards the Curriculum Training in Communication Arts was a quantitative research. The objective of this research were to study the behavior of senior high school students in Chonburi who participating in the curriculum training in Communication Arts, to compare demographic variables and the needs in senior high school students in Chonburi towards the curriculum training in Communication Arts, and to compare the experience of participating in the curriculum training in Communication Arts and the needs towards the curriculum training Communication Arts. Data were collected by means of questionnaire from 988 senior high school students from 16,495 students by Purposive sampling in different high schools of 4 districts in Chonburi. Data were analyzed via inferential statistics by T-test, F-test, and Pearson Correlations. The results revealed that the differences of sex, age, major of study, and revenue did not have an affect on the needs in curriculum training in Communication Arts. For the relationship between student’s experience of participating in the curriculum training in Communication Arts and the needs towards the curriculum training in Communication Arts, the result revealed that students who used to participate in curriculum training would need to participate in those topics again. In the mean time students who had never been in curriculum training would not need to participate in those topics. For their behavior, senior high school in Chonburi used to participated in curriculum training at a few to the fewest level. Most senior high school student in Chonburi heard about the training from the announcement at their school and from their teacher. The expenses that students could afford for each curriculum training was on the average at 628.65 baht. Most of them could go to the training by themselves and the amount of the day that students could participate was on the average at 4.73 en
dc.journal วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.page 59-73.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account