dc.contributor.author |
สุกัญญา บูรณเดชาชัย |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:12:38Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:12:38Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2094 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นตามกลุ่มความผูกพันทางสังคมของผู้บริโภค การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดชลบุรี จำนวน ๔๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของพฤติกรรมการบริโภคหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของประชาชนจังหวัดชลบุรีตามกลุ่มความผูกพันทางสังคมของผู้บริโภคใช้สถิติไค-สแควร์ (Chi-square) สถิติที่ใช้ในการทดสอบความแตกต่างของคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี ตามกลุ่มผู้บริโภค ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนชนิดทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของค่าเฉลี่ยวิธีการ LSD
ผลการวิจัยพบว่า ๑. ใ พฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่เคยอ่านนาน ๆ ครั้งมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ๖๒.๕ อ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นศรีราชามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๕ เหตุผลที่อ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมากที่สุดเนื่องจากมีข่าวสารของท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ ๕๔.๓ ส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๓ ส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในที่ทำงาน คิดเป็นร้อยละ ๔๒.๓ ส่วนใหญ่อ่านหนังสือพิมพ์ท้อถิ่นน้อยกว่า ๓ ปี คิดเป็นร้อยละ ๔๐.๓ ส่วนใหญ่อ่านข่าวสังคมมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ ๔๗.๓ ประโยชน์ที่ได้จากการอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นมากที่สุดคือ เพื่อได้รับทราบข่าวสารทั่วไปในท้องถิ่นคิดเป็นร้อยละ ๔๘.๒
๒. ผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรีมีความคิดเห็นที่มีต่อคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ในด้านความรับผิดชอบ และจริยธรรมของหนังสือพิมพ์มากที่สุด
๓. การเปรียบเทียบพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จำแนกตามระดับความผูกพันพบว่า
๓.๑ ผู้อ่านในจังหวัดชลบุรีที่มีระดับความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ไม่แตกต่าง
๓.๒ ผู้อ่านในจังหวัดชลบุรีที่มีระดับความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นศรีราชา และเสียงมหาชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญอย่างสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนหนังสือพิมพ์ประเภทอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
๓.๓ ผู้อ่านในจังหวัดชลบุรีที่มีระดับความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน มีเหตุผลในการอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่ผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรีอ่าน ในด้านมีชื่อเสียงมานาน ตรวจลอตเตอรี่ (เรียงเบอร์) และมีข่าวสารของท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน
๓.๔ ผู้อ่านในจังหวัดชลบุรีที่มีระดับความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน มีสถานที่ในการอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญอย่างสถิติที่ระดับ .๐๕
๓.๕ ผู้อ่านในจังหวัดชลบุรีที่มีระดับความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน มีระยะเวลาอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญอย่างสถิติที่ระดับ .๐๕
๓.๖ ผู้อ่านในจังหวัดชลบุรีที่มีระดับความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน มีประเภทของเนื้อหาในการอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ได้แก่ ข่าวเศรษฐกิจ/ ธุรกิจ รายงานพิเศษ ข่าวการศึกษาและข่าวการเมือง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญอย่างสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนเนื้อหาประเภทอื่นๆไม่แตกต่างกัน
๓.๗ ผู้อ่านในจังหวัดชลบุรีที่มีระดับความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับจากการอ่านหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในด้านได้รับข่าวสารทั่วไปในท้องถิ่น การรับทราบข่าวการเมือง ได้รับคำแนะนำและข้อคิดเห็นต่าง ๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญอย่างสถิติที่ระดับ .๐๕
๓.๘ ผู้อ่านในจังหวัดชลบุรีที่มีระดับความผูกพันและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อลักษณะที่พึ่งประสงค์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในด้านบทบาทหน้าที่และวัตถุประสงค์ของหนังสือพิมพ์ การบริหารงานของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ความรับผิดชอบและจริยธรรมของหนังสือพิมพ์ เนื้อหา การเขียนและการตกแต่งต้นฉบับ และการผลิตและการจัดจำหน่าย (ระบบการพิมพ์และการเผยแพร่) ไม่แตกต่างกัน |
th_TH |
dc.language.iso |
eng |
th_TH |
dc.subject |
หนังสือพิมพ์ |
th_TH |
dc.subject |
สื่อมวลชนท้องถิ่น - - ชลบุรี |
th_TH |
dc.subject |
หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น - - ชลบุรี |
th_TH |
dc.subject |
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
th_TH |
dc.title |
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในจังหวัดชลบุรี |
th_TH |
dc.title.alternative |
The favorable characteristics of a good local newspaper as perceived by people in Chon Buri Province |
en |
dc.type |
บทความวารสาร |
th_TH |
dc.issue |
23-24 |
|
dc.volume |
15 |
|
dc.year |
2550 |
|
dc.description.abstractalternative |
The objective of the research is to study and compare reading behaviors and favorable characteristics of local newspapers with social relationship of consumers.
This is a qualitative research. The study sample used in the research was 400 habitants who lived in different areas in Chon Buri province. The study instrument used to gather data was questionnaires. The statistics used to analyze the conducted data was the basic statistics: Mean and Standard Deviation (S.D.). The statistics used to experiment the difference between local-newspaper-reading behaviors and social relationship of Chon Buri habitants was Chi-square test. The statistics used to experiment the differences of favorable characteristics of local newspapers in Chon Buri province and a group of consumers was One-Way ANOVA. And the method used to experiment multiple comparison (Post-Hoc) was Least Significant Difference or LSD.
The finding revealed as follow:
1. the research found the differences of local-newspapers-reading behaviors of consumers in ChonBuri province. Scarcely did most of them read. The most was 62.5%. The consumers read Sriracha-local newspaperts the most, which was 35.5%. The greatest reason they read the local-newspapers was there were a lot of useful local information, which was 54.3%. Most of consumers read the local-newspapers at their office. Most of them had read the local newspapers for less than 3 years, which was 40.3%%. And the most popular section that they read was social news, which was 47.3%. They said the most useful result that they got from reading the newspapers was to receive over all news happening in the local areas, which was 82%
2. The consumers in Chon Buri province had an attitude toward favorable characteristics o th local-newspapers that they were the best at responsibility and morality.
3. The comparison of local-newspapers reading behaviors classified by the social relationship levels revealed the results as follow:
3.1 The readers in Chon Buri province who differently had the social relationship levels and the feeling of being apart in Chon Buri had the same local-newspapers reading behaviors.
3.2 The readers in Chon Buri province who differently had the social relationship levels and the feeling of being a part in Chonburi had different reading behaviors on the Sriracha-local newspapers and Siang Mahachon newspapers. And other newspaper weren’t different.
3.3 The readers in Chon Buri province who differently had the social relationship levels and the feeling of being a part in Chonburi had different reasons why they read the local-newspapers. The different reasons were newspapers’ being well-know, lottery checking, and usefulness of the local newspapers.
3.4 The readers in Chon Buri province who differently had the social relationship levels and the feeling of being a part in Chonburi had different places to read the local-newspapers.
3.5 The readers in Chon Buri province who differently had the social relationship levels and the feeling of being a part in Chonburi had different time to read the local-newspapers.
3.6 The readers in Chon Buri province who differently had the social relationship levels and the feeling of being a part in Chonburi had different interested in many sections in the local-newspapers. The different sections were economy/business, special report, education and politics.
3.7 The readers in Chon Buri province who differently had the social relationship levels and the feeling of being a part in Chonburi had different aspects toward the useful advantages from the local-news, politic news, and advices.
3.8 The readers in Chon Buri province who differently had the social relationship levels and the feeling of being a part in Chonburi had the sameaspect toward the favorable characteridtics of the local-newspapers. The favorable characteristics were roles and objectives of the newspaper, management of the local-newspapers, responsibility and morality, decoration, and production and launching |
en |
dc.journal |
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
|
dc.page |
51-75. |
|