DSpace Repository

ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.author เอกวิทย์ มณีธร
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:12:37Z
dc.date.available 2019-03-25T09:12:37Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2083
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรีเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 3กรกฎาคม พ.ศ.2554 และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน อาชีพ สถานภาพสมรส ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และลักษณะของพฤติกรรมของการมีส่วนร่วมทางการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้งซึ่งได้แก่ ความบ่อยครั้งในการเลือกตั้ง มูลเหตุจูงในของการไปเลือกตั้ง ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง การติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น และสำหรับประชาชนในการศึกษาครั้งนี้คือประชาชนในเขตเลือกตั้งทั้ง 8 เขตตามบัชชีรายชื่อของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชลบุรีจำนวน 972,344 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 400 คน ผลการเศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรีโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X̅ =3.53) ซึ่งเมื่อพิจารณารายการด้านแล้วพบว่า ด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด (X̅=3.84 รองลงมาคือด้านพรรคการเมือง (X̅ =3.70) ด้านวิธีในการหาเสียง (X̅ =3.43) และด้านหัวคะแนนและบริบทอื่นๆ (X̅ =3.15) ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ ด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร เมื่อพิจารณารายข้อและพบว่าการให้ความช่วยเหลือบริการประชาชนและสังคมในช่วงเวลาที่ผ่านมาของผู้สมัคร ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด(X̅ =4.06) ด้านพรรคการเมือง เมื่อพิจารณารายข้อแล้วพบว่าชื่อเสียง ความรู้ ความสามารถของหัวหน้าพรรค ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด (X̅ =3.92) ด้านวิธีการหาเสียงข้อผู้สมัคร เมื่อพิจารณารายข้อแล้วพบว่าการหาเสียงโดยเข้าถึงตัวประชาชน ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด (X̅ =3.71) ด้านหัวคะแนนและบริบทอื่นๆ เมื่อพิจารณารายข้อแล้วพบว่าการนำเสนอตนเองที่โดดเด่น แล้วดึงดูดความสนใจของผู้สมัคร ประชาชนให้ความสนใจมากที่สุด (X̅ =3.53) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยอันได้แก่ เพศ อาชีพ มูลเหตุจูงใจของการไปเลือกตั้ง และการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งต่างกันมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐาน th_TH
dc.language.iso th th_TH
dc.subject การตัดสินใจ th_TH
dc.subject การมีส่วนร่วมทางการเมือง th_TH
dc.subject การลงคะแนนเสียง th_TH
dc.subject สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ th_TH
dc.title ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรี th_TH
dc.type บทความวารสาร th_TH
dc.issue 2
dc.volume 3
dc.year 2554
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study the factors which were related to constituents' voting decision for members of parliament in Chonburi Province in the election that took place on July 3, 2011 and to compare the difference of factors related to constituents' voting decision for members of parliament in Chonburi according to personal factors and characteristics of behaviors relating to the election for example, sex, age, education level, monthly income, occupation,marital status, length of time in area, frequency of voting, motivation for voting, characteristics of participation in politics, and political news exposure. The population of this study was the listed 972,344 eligible voter of Chonburi Electorate Area 8. The sample of 400 people was drawn by using Taro Yamane's table.The research results show that there were many factors relating to adecision to vote. When each factor was mulled over (X̅ =3.53), it was found that the related factor was the qualifications of candidates (X̅ =3.84), the affiliated party (X̅ =3.70), the campaigning approaches(X̅ =3.43), and the canvassers, respectively (X̅ =3.15 ). In the candidate factor, most voters considered the assistance and services provided for them by the candidates the period prior to the election (X̅ =4.06), in the affiliated party, most voters considered the reputation, knowledge, and ability of leader (X̅ =3.92), in the campaigning approaches, most voters considered the door-knocking campaigning (X̅ =3.92), in the canvassers and other contexts, most voters considered the outstanding self-presentation (X̅ =3.92),. The hypothesis testing found that factors such as sex, occupation, motivation in voting, and political news exposure related differently to constituents's voting decision for members of parliament in Chonburi at the significant level of .05, which meaned that they hypothesis was accepted. en
dc.journal วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย
dc.page 269-302.


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account