Abstract:
การศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรีเป็นแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 3กรกฎาคม พ.ศ.2554 และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลซึ่งได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน อาชีพ สถานภาพสมรส ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และลักษณะของพฤติกรรมของการมีส่วนร่วมทางการเมืองเกี่ยวกับการเลือกตั้งซึ่งได้แก่ ความบ่อยครั้งในการเลือกตั้ง มูลเหตุจูงในของการไปเลือกตั้ง ลักษณะของการมีส่วนร่วมทางการเมือง การติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง เป็นต้น และสำหรับประชาชนในการศึกษาครั้งนี้คือประชาชนในเขตเลือกตั้งทั้ง 8 เขตตามบัชชีรายชื่อของคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชลบุรีจำนวน 972,344 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 400 คน ผลการเศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรีโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (X̅ =3.53) ซึ่งเมื่อพิจารณารายการด้านแล้วพบว่า ด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด (X̅=3.84 รองลงมาคือด้านพรรคการเมือง (X̅ =3.70) ด้านวิธีในการหาเสียง (X̅ =3.43) และด้านหัวคะแนนและบริบทอื่นๆ (X̅ =3.15) ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ ด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร เมื่อพิจารณารายข้อและพบว่าการให้ความช่วยเหลือบริการประชาชนและสังคมในช่วงเวลาที่ผ่านมาของผู้สมัคร ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด(X̅ =4.06) ด้านพรรคการเมือง เมื่อพิจารณารายข้อแล้วพบว่าชื่อเสียง ความรู้ ความสามารถของหัวหน้าพรรค ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด (X̅ =3.92) ด้านวิธีการหาเสียงข้อผู้สมัคร เมื่อพิจารณารายข้อแล้วพบว่าการหาเสียงโดยเข้าถึงตัวประชาชน ประชาชนให้ความสำคัญมากที่สุด (X̅ =3.71) ด้านหัวคะแนนและบริบทอื่นๆ เมื่อพิจารณารายข้อแล้วพบว่าการนำเสนอตนเองที่โดดเด่น แล้วดึงดูดความสนใจของผู้สมัคร ประชาชนให้ความสนใจมากที่สุด (X̅ =3.53) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยอันได้แก่ เพศ อาชีพ มูลเหตุจูงใจของการไปเลือกตั้ง และการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งต่างกันมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในจังหวัดชลบุรีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐาน