dc.contributor.author | นิรมล ธรรมวิริยสติ | |
dc.contributor.author | สานิตา สิงห์สนั่น | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:10:38Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:10:38Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/2039 | |
dc.description.abstract | ปัจจุบันการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างกว้างขวางในกลุ่มเกษตรกร การขาดความรู้ความเข้าใจและการใช้อย่างไม่ถูกต้องทำให้เสี่ยงต่อการได้รับพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกายการศึกษาที่ผ่านมา มุ่งเน้นที่กลุ่มเกษตรกรเป็นหลัก ยังไม่มีการศึกษาในกลุ่มผู้บริโภค งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับสารพิษตกค้างในผักที่ผู้บริโภคนิยมรับประทาน เจตคติและพฤติกรรมการรับประทานผักผลไม้ของกลุ่มผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสและผลตรวจสุขภาพ โดยสุ่มตรวจตัวอย่างผักและผลไม้ในเขตอำเภอเมืองชลบุรีและอำเภอศรีราชาตามท้องตลาด จำนวน 200 ตัวอย่าง ทดสอบหาสารพิษตกค้างในกลุ่ม Organophosphate และ Carbamate โดยใช้ชุดทดสอบ GT-Pesticide residual kit พบว่า สารพิษตกค้างในผักประเภท กะเพรา คะน้า กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาวและผักกาดขาวในปริมาณสูงที่สุด ตามลำดับ อาสาสมัคร ช่วงอายุ 18-60 ปี สัญชาติไทย จำนวน 130 คน ทำแบบสอบถามเพื่อแยกกลุ่มที่มีพฤติกรรมความเสี่ยงสูง และความเสี่ยงปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไปและผลตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้น และผลตรวจเลือดของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่ม มีความคล้ายคลึงกัน ไม่พบความแตกต่างของ อายุ เพศ ค่าดัชนีมวลกาย ความดันโลหิต ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส ฮีมาโตคริต จำนวนและขนาดของเม็ดเลือด แต่พบแนวโน้มความสัมพันธ์ที่แตกต่างกับค่าฮีโมโกลบิน และระดับโคเลสเตอรอลของทั้งสองกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสที่จุดตัด 2000 U/L พบ แนวโน้มสัมพันธ์กับความดันโลหิต และ MCV แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ยาฆ่าแมลง | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.subject | สารพิษตกค้าง | th_TH |
dc.subject | สารเคมีจำกัดศัตรูพืช | th_TH |
dc.title | การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดและพิษของยาฆ่าแมลงที่ส่งผลต่อสุขภาพในกลุ่มประชากรผู้ได้รับสารพิษตกค้างในผัก | th_TH |
dc.title.alternative | Correlation effect of cholinesterase blood level and toxic pesticide to the health impact in a population exposed to insecticides residues in vegetables | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | niramon@buu.ac.th | |
dc.author.email | santa_sing@hotmail.com | |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | In the present, pesticides have been used in word wild for agriculture worker. Lacking of knowledge and misuse improper led to the risk of pesticide toxicity in body. The previews study focused only on agriculture worker that there are no report about the toxic in consumer. The objective of this research were to estimate pesticide residues in vegetables which are popular for consumer, human attitude and behavior for eating fruit and vegetables, changing level of choline est erase enzyme, and health check up report. Vegetables and fruits in amphoe Muang and Sriracha were randomly tested 200 samples on the side walk markets. Examination of the Organophosphate and Carbonate groups of pesticide using GT-Pesticide residual kit were shown the top five of highest level of pesticide residues in Basil, Chinese Kale, Cabbage Yard Long Bean, White Radish, respectively. Volunter age 18-60 years old, Thai about 130 peoples had answer the equation to separate the behaviors in high risk and moderate risk of vegetable consumers. When compered to general background, heath check up and blood testing, the two groups of risks were not correlated with in age, sex, BMI, pressure, cholinesterase level haematocrit size and amount of Red blood cells. Meanwhile the values of hemoglobin, total cholesterol were comparable in the risk groups. When compared to the level of cholinesterase enzyme using the cut point 2000 U/L, it was related with pressure, MCV, in significant p < 0.05. | en |