Abstract:
การวิจัยเรื่อง ศึกษาความต้องการพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กพิเศษ ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัดในศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลงานประติมากรรมเพื่อการบำบัด ในการพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทที่มีปัญหาทางด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ การทรงตัว และการสัมผัสระหว่างตากับมือ แบบแผนการวิจัยผสมผสานวิธี (Mixed methods research) แบบ The Exploratory Sequential Design โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสร้างสรรค์ทัศนศิลป์ (Practice Led research) และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณผู้วิจัยควบคู่กันไป โดยมีเป้าหมายของกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กพิเศษ ชายและหญิงอายุระหว่าง 4-12 ปี ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออก 3 จังหวัด โดยอาศัยหลักการทฤษฎีจากกระบวนการด้านกิจกรรมบำบัด ศิลปะแบบไคเนติก และมูลฐานทางด้านศิลปะ นำมาบูรณาการให้ได้มาซึ่งผลงานประติมากรรมที่สามารถเป็นทางเลือกในการบำบัดเด็กพิเศษ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 สำรวจข้อมูลพื้นฐาน การศึกษาและการค้นคว้า ระยะที 2 วิเคราะห์ความต้องการในการพัฒนาทางด้านร่างกาย หาความต้องการ ระยะที่ 3 การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักกิจกรรมบำบัด ผู้เชี่ยวชาญด้านทัศนศิลป์ ผลงานโมเดลที่พัฒนาขึ้นมาจะเป็นลักษณะผลงานประติมากรรมที่ประกอบดด้วยเครื่องมือที่เป็นกิจกรรมการละเล่นที่สอดคล้องและช่วยส่งเสรริมในการบำบัด จากประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ สถิตริในการวิจัยครั้งนี้ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test)
ผลการวิจัยพบว่า
2. ความต้องการในการพัฒนาการทางด้านรางกายของเด็ก ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคตะวันออก ที่มีเพศ สถานะ ประสบการณ์ในการรดูแลเด็กพิเศษ มีความต้องการอยู่ในระดับความต้องการมาก (X=3.95,S.D.=0.50) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
1.1. เด็กพิเศษ มีความต้องการในการพัฒนาการทรงตัว อยู่ในระดับความต้องการมาก การพัฒนาเครื่องมือ สอดคล้องกับสมมุติฐาน และมีประสิทธิภาพ
1.2. เด็กพิเศษ ที่มีความต้องการในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ อยู่ในระดับความต้องการมาก การพัฒนาเครื่องมือ สอดคล้องกับสมมุติฐาน และมีประสิทธิภาพ
1.3. เด็กพิเศษ มีความต้องการในการพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก อยู่ในนระดับความต้องงการมาก การพัฒนาเครื่องมือ สอดคล้องกับสมมุติฐาน และมีประสิทธิภาพ
1.4. เพื่อการศึกษาเด็กพิเศษ มีความต้องการในการพัฒนาระบบประสาทสัมผัสทางกาย อยู่ในนระดับความต้องงการมาก การพัฒนาเครื่องมือ สอดคล้องกับสมมุติฐาน และมีประสิทธิภาพ
2. ผลงานสเกตซ์โมเดลประติมากรรมเพื่อการบำบัด (สเกตซ์โมเดล ในลักษณะ 3 มิติ) มีการบูรณาการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการบำบัด มีความสอดคล้องกับเนื้อหาด้านการบำบัด ด้านทัศนศิลป์ ด้านการพัฒนากายภาพ และความงาม อยู่ในระดับดีมาก