Abstract:
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการแพร่คลอไรด์และความสามารถเก็บกักคลอไรด์ของซีเมนต์เพสต์ที่ ผสมเถ้าลอยและสารขยายตัว โดยใช้ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 เป็นวัสดุประสานหลัก อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 และ 0.50 อัตราส่วนการแทนที่วัสดุประสานด้วยเถ้าลอยและ สารขยายตัว 0.30 และ 0.10 ตามลําดับ ทําการทดสอบการแพร่คลอไรด์โดยผสมเกลือโซเดียมคลอ ไรด์ในซีเมนต์เพสต์ตั้งแต่แรกที่ปริมาณคลอไรด์ 3.0% โดยน้ำหนักวัสดุประสาน จากนั้นบ่มตัวอย่างด้วยแผ่นพลาสติก ครบกําหนดจึงเคลือบผิวด้วยอีพ๊อกซีทุกด้านยกเว้นปลายด้านหนึ่ง แล้ว นําไปแช่ในน้ำเปล่า 91 วัน เมื่อครบกําหนดจึงนําตัวอย่างมาหาปริมาณคลอไรด์ตามระดับความลึก จากผิวหน้า และทําการทดสอบความสามารถเก็บกักคลอไรด์โดยนําชิ้นตัวอย่างไปแช่ไว้ในน้ำเกลือ โซเดียมคลอไรด์ 5.0% โดยนน้ำหนัก แล้วจึงนํามาทําการทดสอบที่อายุ 91วัน นอกจากนนี้ทําการทดสอบการแพร่คลอไรด์ของซีมนต์เพสต์ที่ผสมเส้นใย ใช้อัตราส่วนน้ำต่อวัสดุประสาน 0.40 และ ปริมาณเส้นใย 0.25% และ 0.50% โดยปริมาตร ผสมเกลือคลอไรด์ในปริมาณเริ่มต้น 3.0% โดย น้ำหนักวัสดุประสานด้วย
จากผลการทดลองพบว่า ซีเมนต์เพสต์ล้วนมีความต้านทานการแพร่คลอไรด์มากกว่า ซีเมนต์เพสต์ทที่ผสมเถ้าลอยหรือสารขยายตัวและซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเถ้าลอยและสารขยายตัว ตามลําดับ ซีเมนต์เพสต์ที่ผสเถ้าลอย สารขยายตัวและฝุ่นหินปูนมีความสามารถเก็บกักคลอไรด์ ดีกว่าซีเมนต์เพสต์ล้วน ซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเส้นใยมีความต้านทานการแพร่ของคลอไรด์ได้ดีกว่าซีเมนต์เพสต์ล้วน การแพร่คลอไรด์ของซีเมนต์เพสต์เปลี่ยนแปลงตามเวลา โดยที่ระยะเวลาการแช่ น้ำเปล่า 28 วัน ซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเส้นใยที่ปริมาณ 0.25% มีการแพร่คลอไรด์ไม่แตกต่างกัน แต่ที่ ปริมาณเส้นใย 0.50% ซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเส้นใยแก้วมีการแพร่คลอไรด์มากสุด ส่วนซีเมนต์เพสต์ที่ ผสมเส้นใยเหล็กมีการแพร่คลอไรด์ต่ำสุด แต่ที่ระยะเวลาแช่นน้ำเปล่า 91 วัน พบว่า ทั้งที่ปริมาณเส้น ใย 0.25% และ 0.50% ซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเส้นใยแก้วมีการแพร่คลอไรด์มากที่สุดและซีเมนต์เพสต์ ที่ผสมเส้นใยเหล็กมีการแพร่ต่ำสุด สุดท้ายพบว่า ซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเส้นใยแก้วความต้านทานการ แพร่ของคลอไรด์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อปริมาณเส้นใยเพิ่มขึ้น