Abstract:
การศึกษาเรื่อง “การส่งเสริมจริยธรรมกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในภาคตะวันออก” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการสื่อสารเชิงจริยธรรม การมีส่วนร่วมทางสังคมการเมืองของประชาชน สู่การกำหนดแนวทางการปลูกฝังจริยธรรมทางสังคม การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และเสริมด้วยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการสื่อสารเชิงจริยธรรมทางด้านศาสนาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบททางสังคม สถาบันทางด้านศาสนามีปฺฏิสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับระบบทุน มีรูปแบบการเผยแผ่ที่หลากหลายผ่าน สื่อสารมวลชน หนังสือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ จริยธรรมได้เปลี่ยนไปสู่การสร้างความบันเทิงเพื่อการผ่อนคลาย การท่องเที่ยวสำหรับการพักผ่อน มีการเชิงสถาบันทางศาสนาเพื่อกลยุทธ์เผยแผ่แนวใหม่ หลักสูตรสำหรับการอบรมเรียนรู้ให้กับประชาชนในสังคมเมือง ในประเด็นของจริยธรรมกับการมีส่วนร่วมทางสังคมการเมืองของประชาชนภาพรวมอยู่ในระดับกลาง โดยกลุ่มเฉพาะกลุ่มอายุ 20-30 ปีจะตระหนักถึงการมีส่วนร่วม/อยู่ในกระบวนการมีส่วนร่วมค่อนข้างมากกว่ากลุ่มช่วงอายุอื่น แนวทางการปลูกฝังจริยธรรม คือ ควรให้อิสรภาพในแสวงหาและการปรับตัวทางจริยธรรมปราศจากการควบคุมและการสนับสนุนจากรัฐ