Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะความโค้งของฝ่าเท้าในเด็กไทย เขตภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุระหว่าง 5-16 ปี ที่ศึกษาอยู่ในภาคตะวันออก จำแนกเป็น เพศชาย จำนวน 1,254 คน คิดเป็นร้อยละ 45.8 และเป็นเพศหญิง จำนวน 1,484 คน คิดเป็นร้อยละ 54.2 ดำเนินการวัดโครงสร้างของเท้าด้วยวิธีการ วัดดัชนีความสูงของโค้งฝ่าเท้าในท่านั่ง และท่ายืนโดยใช้เครื่องวัดดัชนีของโค้งเท้าทำการวัดระยะความสูงของหลังเท้า ความยาวของเท้าและความยาวเท้าที่ไม่รวมนิ้วเท้า นำข้อมูลที่วัดได้มาคำนวณค่าดัชนีความสูงของโค้งฝ่าเท้า และวัดรอยพิมพ์เท้าโดยถ่ายภาพรอยพิมพ์เท้า นาข้อมูลที่ได้ คานวณพื้นที่ใต้เท้าเป็นค่าดัชนีความโค้งของฝ่าเท้า มาดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่าเด็กในภาคตะวันออกมีค่าดัชนีความสูงของโค้งฝ่าเท้าด้านซ้ายในท่านั่ง (ลงน้ำหนักร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .3419 +- 0.0325 ดัชนีความสูงของโค้งฝ่าเท้าด้านซ้ายในท่ายืนสองเท้า (ลงน้ำหนักร้อยละ 50 ของน้ำหนักตัว) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .3122 +- 0.0415 และดัชนีความสูงของโค้งฝ่าเท้าด้านซ้ายในท่ายืนเท้าเดียว (ลงน้ำหนักร้อยละ 90 ของน้ำหนักตัว) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .3010 +- 0.0635 และดัชนีความสูงของโค้งฝ่าเท้าด้านขวาในท่านั่ง (ลงน้ำหนักร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .3468 +-0.0349 ดัชนีความสูงของโค้งฝ่าเท้าด้านขวาในท่ายืนสองเท้า (ลงน้ำหนักร้อยละ 50 ของน้ำหนักตัว) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .3174 +-0.1254 และดัชนีความสูงของโค้งฝ่าเท้าด้านขวาในท่ายืนเท้าเดียว (ลงน้ำหนักร้อยละ 90 ของน้ำหนักตัว) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ .3090 +- 0.0613 ค่าเฉลี่ยของรอยพิมพ์ฝ่าเท้าของเด็กในภาคตะวันออกทั้ง 2 ด้านอยู่ในลักษณะปกติ