dc.contributor.author |
อาลักษณ์ ทิพยรัตน์ |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-03-25T09:10:01Z |
|
dc.date.available |
2019-03-25T09:10:01Z |
|
dc.date.issued |
2559 |
|
dc.identifier.uri |
http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1967 |
|
dc.description.abstract |
วิธีวิเคราะห์เชื้อแบคทีเรียในอาหารโดยการเลี้ยงเชื้อในอาหารจำกัดและมีขนาดเล็กได้มีการพัฒนาขึ้นมา เพื่อเร่งกระบวนการวิเคราะห์เชื้อให้เร็วขึ้น และเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาการใช้ 96-well microtiter plate ที่มีการใช้ปริมาตรอาหารน้อยแทนการใช้ด้วยวิธีเลี้ยงเชื้อมาตรฐาน โดยทำการศึกษาด้วยการใช้เชื้อ Listeria แทนเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด จากการศึกษาพบว่า จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างการวิเคราะห์เชื้อภายใต้ปริมาตรอาหารจำกัด มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการเลี้ยงเชื้อด้วยวิธีมาตรฐาน (R2 = 0.97) แสดงว่าการวิเคราะห์เชื้อในอาหารปริมาตรจำกัดสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณเชื้อทั้งหมดแทนการใช้วิธีมาตรฐานได้ นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาจลนศาสตร์การเจริญเติบโตของเชื้อภายใต้อาหารปริมาตรจำกัดด้วยอุปกรณ์ต้นแบบกล้องจุลทรรศน์แมชชีนวิชชั่นกำลังขยายสูง โดยมีการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญของเชื้อทั้งหมด 3 ปัจจัย คือ อุณหภูมิ ปริมาณวุ้น และปริมาณอาหารเสริม เพื่อจะได้นำมาใช้ในการหาภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อ เพื่อที่จะทำให้เวลาในการวิเคราะห์เชื้อสั้นลง โดยอุณหภูมิที่นำมาใช้ในการบ่มเชื้อ คือ 40.5 C และมีการปรับปรุงความเข้มข้นของคาร์บอนและไนโตรเจนจากความเข้มข้นเดิมเพิ่มเป็นที่ 2X และ 2.5X ตามลำดับ
ในขณะที่ความเข้มข้นของวุ้นสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมแต่ต้องมีความเข้มข้นน้อยกว่า 2.5X นอกจากนั้นในงานวิจัยนี้ยังได้มีการพัฒนารูปแบบการวิเคราะห์ภาพถ่ายด้วยอุปกรณ์ต้นแบบกล้อง
จุลทรรศน์แมชชีนวิชชั่นกำลังขยายต่ำ ต่อการนับปริมาณเชื้อโคโลนี Escherichia coli และ coliform บนพื้นผิวของ agar medium ในระดับ micro-environment การตรวจหา E. coli และปริมาณ coliform ในอาหารโดยปกติเพื่อเป็นการบ่งบอกสุขลักษณะที่ดีในการล้างมือและการผลิตอาหารตลอดรวมถึงการเก็บรักษาที่ไม่เพียงพอและมีการปนเปื้อนข้ามเกิดขึ้น ในการนับจำนวนของแบคทีเรียทั้งหมดประสบความสำเร็จในการประมาณการใช้เทคนิคเชิงเศรษศาสตร์แต่มีประสิทธิภาพในการใช้ โดยเป็นการใช้กล้อง digital microscopy ร่วมกับการใช้โปรแกรม Image เพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการวิเคราะห์นับโคโลนี โปรโตคอลที่พัฒนาดังกล่าวทำให้ช่วยลดเวลาการวิเคราะห์ ลดแรงงานและเวลาในการนับโคโลนีด้วยวิธีการนับด้วยสายตา การนำเสนอการเพาะเลี้ยงเชื้อขนาดเล็กได้ดำเนินการโดยใช้ 96-well microtiter plate เทคนิคและความถูกต้องของการนับปริมาณเชื้อถูกเปรียบเทียบกับการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมในระดับอุตสาหกรรม รวมถึงวิธีการวิเคราะห์แบบ pour plate, spread plate 2 เทคนิควิธีวิเคราะห์แบบ agar ที่เป็น plate count agar และอาหาร Chromocult Coliform Agar (CCA) ถูกนำมาใช้และนับปริมาณเซลล์บน agar ทั้งคู่การใช้ protocol ที่ได้มีการพัฒนาให้ผลสอดคล้องกับผลที่ได้จากวิธีมาตรฐานโดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างการวิเคราะห์ด้วยสายตาและการใช้เทคนิคซอฟต์แวร์กับการยอมรับค่าเฉลี่ยที่ยอมให้ผิดพลาดที่ 3.15% รูปแบบการวิเคราะห์ขนาดเล็กที่รวดเร็วถูกนำมาทดสอบกับตัวอย่างอุตสาหกรรมที่หลากหลายชนิด โดยเป็นตัวอย่างผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปไปจนถึงตัวอย่าง swab จากสิ่งแวดล้อม ปริมาณโคโลนีที่ได้จากเทคนิคที่นำเสนอพบว่า ำม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการวิเคราะห์แบบปกติทั่วไป แสดงให้เห็นว่าเทคนิคดังกล่าวเป็นทางเลือกที่ดี สามารถที่จะนำไปใช้แทนที่เทคนิคที่เป็นมาตรฐานในการนับปริมาณเชื้อพวก aerobic flora ในการสนับสนุนการตรวจวิเคราะห์เพื่อการสุขลักษณะการผลิตและสุขลักษณะนิสิยที่ดี วิธีการดังกล่าวสามารถที่จะจัดการกับตัวอย่างอุตสาหกรรมปริมาณมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยพัฒนาเวลาในการวิเคราะห์และค่าใช้จ่ายต่อตัวอย่าง การใช้เทคนิค MIC ร่วมกับ digital microscopy ไม่เพียงแต่เพื่อการดำเนินการนับโคโลนีของ Escherichia coli และ coliform แต่ยังสามารถใช้ตรวจวิเคราะห์แบคทีเรียชนิดอื่นได้อีกด้วย (i.e., Salmonella spp., Vibrio spp.) และสามารถเป็นประโยชน์ในการนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมยา |
th_TH |
dc.description.sponsorship |
โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
en |
dc.language.iso |
th |
th_TH |
dc.publisher |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
th_TH |
dc.subject |
ชุดตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ |
th_TH |
dc.subject |
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
th_TH |
dc.subject |
อุปกรณ์ต้นแบบกล้องจุลทรรศน์ |
th_TH |
dc.title |
การพัฒนานวัตกรรมชุดตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการบ่มร่วมกับการใช้อุปกรณ์ต้นแบบกล้องจุลทรรศน์แมชชีนวิชชั่นสำหรับเร่งการตรวจหาเชื้อเพื่อลดการนำเข้าชุดทดสอบสำเร็จรูปราคาแพง |
th_TH |
dc.title.alternative |
Development of rapid microbial detection using self-developed machine vision and enhance effectiveness of culture incubation to support growth of food export and eliminate need to import expensive microbial test kits from overseas |
en |
dc.type |
Research |
th_TH |
dc.author.email |
aluck@eng.buu.ac.th |
|
dc.year |
2559 |
|
dc.description.abstractalternative |
A micro-scale, cells cultivation strategy was developed to assist the assist the rapid detection of Listeria spp. And provide the wealth of essential background to growth Listeria forming colonies in 96 well microliter plate. The growth kinetics of Listeria colony on TSA media was studied via a high magnification microscopy to optimize the cultivation parameters, for example, temperature, nutrition and agar concentration, to fasten the detection time. The optimal temperature for micro-well growth was at 40.5 ‘C. Using the logistic model to evaluate the key cultivation kinetics, the study revealed that the concentration of carbon and nitrogen sources should be fortified by adding 2X of glucose and 2.5X of try tone to enhance colony growth. Only did the concentration of agar higher than 2.5X affect the lag time of colony growth. The use of micro cultivation in micro wells was very promising to substitute the tradition of Petri dish utilization. Moreover, this research developed image analysis protocol detect and numerate Escherichia coli and coliform colonies on the surface of agar medium in a micro- environment.
The detection of E. coli and total coliform in foods usually indicates poor hygienic practice in in handing and production operations, inadequate storage and post-process contamination. The number of total viable cells was successfully estimated using an economical but effective digital microscopy together with Image J software to assist the detection of small colony formation. This developed protocol enabled the reduction of lead time and minimized the labor and analytical time to perform colony counting manually. The microcell cultivation (MIC) was achieved using 96-well microliter plate technique and the accuracy of viable cell count was compared to common industrial routines, including pour plate and spread plate techniques. Two types of agar media (i.e. Plate Count Agar (PCA) and Chromo cult Coliform Agar (CCA) were utilized and the cell enumeration on both agar using the developed protocol agreed well with the results obtained from the standard methods. There were no statistical differences between the visual and software-assisted techniques with acceptable mean value of absolute percentage error of 3.15%. The miniaturized rapid protocol was tested on several types of industrial samples ranging from finished goods to environmental samples. The colony count results of the proposed technique were no statistically significant differences comparable to those of routine techniques. It was suggested that the technique has promising potential and convenient alternative to the standard method for the enumeration of aerobic flora; it supports good manufacturing practice (GMP) and good hygiene practice (GHP) as well as enables traceability and efficient management of quality control and assurance of factory data. The method was able to effectively manage a large number of industrial samples and substantially improve the analytical time and cost per sample. The use of MIC equipped with digital microscopy not only performs E. coli and coliform enumeration but also it is able to detect other bacterial groups (i.e., Salmonella spp., Vibrio spp.) and can be useful in pharmaceutical application |
en |