Abstract:
การตรวจหามะเร็งเต้านมจะใช้เทคนิคการประมวลผลภาพทางการแพทย์มาตรวจสอบก้อนเนื้อที่เป็นรอยฉีกจะเป็นปัจจัยที่บ่งชี้การเป็นมะเร็งเบื้องต้น ในกระบวนการตรวจสอบก้อนเนื้อที่เป็นรอยฉีกแบบอัตโนมัติจะประกอบไปด้วย ขั้นตอนการประมวลผลภาพที่มีประสิทธิภาพ โดยการกำจัดส่วนของกล้ามเนื้อหน้าอก (Pectoral Muscle) ด้วยวิธีการ Region growing จากนั้นทำการลดขนาดรูปภาพเพื่อหาบริเวณที่เราสนใจ (Region of interest: ROI) ด้วยวิธีคำนวณหาอัตราส่วนของเต้านม การปรับปรุงคุณภาพของส่วนพื้นที่ที่เหลือในภาพ ROI ด้วยโพลิโนเมียลเฮอร์ไมท์ เมื่อจบการประมวลผลขั้นตอน ผู้วิจัยได้นำเสนอขั้นตอนวิธีการหาจุดเริ่มต้นของเอ็กทีฟคอนทัวร์ (Active contour) ด้วยขั้นวิธี Radon Transform จากนั้นคำนวณรูปร่างของมวลเนื้อเยื่อแบบรอยฉีกด้วยแอ็กทีฟคอนทัวร์ ด้วยเทคนิคที่อยู่บนพื้นฐาน GGVF จากกระบวนการที่ได้นำเสนอภาพที่ใช้จากฐานข้อมูลภาพดิจิตอลเมมโมแกรมให้ความถูกต้องของผลลัพธ์เป้นที่น่าพึงพอใจมากและสามารถระบุตำแหน่งของมวลเนื้อเยื่อที่คาดว่าจะเป็นเนื้อเยื่อที่มีรอบฉีกอย่างอัตโนมัติ