DSpace Repository

การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพโดยหัวเชื้อจากของเสียตะกอนเลนบ่อกุ้งทะเล

Show simple item record

dc.contributor.author ญาณิศา ละอองอุทัย
dc.contributor.author วชิรา ดาวสุด
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:55Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:55Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1896
dc.description.abstract โครงงานวิจัยครั้งนี้ทำการสร้างชุดเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ ประกอบไปด้วย ชุดวัดและบันทึกข้อมูล pH อุณหภูมิ และปริมาณแก๊ส (bubble counter) โดยข้อมูลจะถูกบันทึกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยถังหมักใช้วัสดุอะคริลิก ขนาด 5 และ 30 ลิตร นำถังที่สร้างขึ้นมา ขนาด 5 ลิตร ทำการหมักแก๊สชีวภาพจากตะกอนเลนของเสียบ่อกุ้งจากจังหวัดชลบุรี ด้วยระบบกะแบบไร้ออกซิเจน ระยะเวลาในการหมัก 15 วัน ศึกษา pH เริ่มต้น และอุณหภูมิ ที่เหมาะสม โดยทำการตรวจวัดปริมาณแก็สที่เกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลง pH และอุณหภูมิ ระหว่างการหมัก พร้อมตรวจวัดองค์ประกอบของแก๊สที่ถูกผลิต นอกจากนี้ยังทำการตรวจวัดคุณสมบัติทางเคมีของตะกอนเลนก่อนและหลังการหมัก จากผลการวิจัยพบว่า pH และอุณหภูมิ ที่เหมาะสม คือ pH 7 และอุณหภูมิ 40 ºC โดยผลิตแก๊สได้สูงสุดคือ 928 มิลลิลิตร เมื่อนำแก๊สที่ได้ไปวิเคราะห์องค์ประกอบพบแก๊สไฮโดรเจนปริมาณสูงที่สุดคิดเป็นร้อยละ 98 เมื่อทำการวัดองค์ประกอบทางเคมีของตะกอนเลนของเสียบ่อกุ้งพบว่า ก่อนการหมักมีค่า TS เท่ากับ 805,080 mg/l คิดเป็นของแข็งระเหยได้ (VS) 54,480 mg/l ซึ่งคิดเป็นปริมาณสารอินทรีย์ในตะกอนเลยซึ่งถือว่ามีน้อยเมื่อเทียบกับของเสียชนิดอื่น แต่ ณ สภาวะที่เหมาะสมที่ได้จากการทดลองพบว่าได้ปริมาณแก๊สค่อนข้างสูง ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะนำสภาวะดังกล่าวไปใช้จริงในฟาร์มกุ้งเพื่อเปลี่ยนของเสียให้เป็นพลังงานมาใช้ในการจัดการฟาร์ม นอกจากนี้คณะวิจัยยังจำแนกและศึกษาชนิดของแบคทีเรียในกระบวนการผลิตมีเทนจากกระบวนการหมักดังกล่าว โดยอาศัยเทคนิคทางพันธุศาสตร์เชิงโมเลกุลโดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน 16S rRNA ในการจำแนกสายพันธุ์ของแบคทีเรีย พบแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน 4 ชนิด ได้แก่ Exiguobacterium, Bacillus,Staphyloccus epidermidis, และ Staphylococcus aureus นอกจากนี้สามารถแยกแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนได้ คือ Clostridium cochlearium ซึ่งทั้งหมดเป็นแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ 2558 en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject จุลินทรีย์ th_TH
dc.subject บ่อกุ้ง th_TH
dc.subject แก๊สชีวภาพ th_TH
dc.subject เครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ th_TH
dc.subject สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย th_TH
dc.title การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพโดยหัวเชื้อจากของเสียตะกอนเลนบ่อกุ้งทะเล th_TH
dc.title.alternative Improving biogas production using inoculum from marine shrimp pond sediment waste en
dc.type Research
dc.author.email yanisa@buu.ac.th
dc.author.email wachira@buu.ac.th
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative This research is to set up the bioreactor with the pH, temperature and bubble counter probes system. Probes were connected with the computer program to record the data real-time. The reactor was decided in 2 different size including 5 and 30 liter. These reactors were used for biogas production in batch anaerobic system by using shrimp pond sediment waste collected from Chonburi province, Thailand. The digestion period was set up for 15 days. The starting pH and temperature were the parameters of this project. The gas amount, pH and temperature were measured during fermentation period. Gas composition was also analyzed as well as the chemical properties of sediment before and after fermentation. The result show that the suitable pH and temperature were pH 7 and 40 º C with gave the maximum gas amount of 928 ml. The gas composition showed the highest gas amount which was hydrogen gas with the 98 percentage. For the chemical properties of sediment, it found that TS and VS of sediment before digestion were 805,080 mg/l and 54,480 mg/l. This result showed that the sediment had low amount of organic matter compare to other organic waste. However at the best condition in this study, we can produce the biogas particularly high amount which is possible to use this condition apply in the shrimp farm for waste management. Also the biogas can use as the energy source in the farm. Additionally, the researcher team investigated the types of bacteria involving in biogas production using molecular genetic technique base on 16S rRNA sequence. Four abundance aerobic species were identified including Exiguobacterium, Bacillus,Staphyloccus epidermidis and Staphylococcus aureus and one anaerobic bacterial had been isolate which is Clostridium cochlearium. All isolated bacterial has been reported as biogas producing bacteria en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account