DSpace Repository

ความหลากหลายทางชนิดของฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนกลาง

Show simple item record

dc.contributor.author สุเมตต์ ปุจฉาการ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:09:55Z
dc.date.available 2019-03-25T09:09:55Z
dc.date.issued 2559
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1894
dc.description.abstract ผู้วิจัยทำการศึกษาความหลากหลายของชนิดฟองน้ำทะเลบริเวณหมู่เกาะชุมพร จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2558 รวมทั้งสิ้น 9 สถานีสำรวจ ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างในพื้นที่สำรวจโดยการดำน้ำในเวลากลางวัน บันทึกภาพใต้น้ำ เก็บรักษาตัวอย่างด้วยเอธานอล 75% แล้วนำตัวอย่างมาทำการจำแนกชนิดที่ห้องปฏิบัติการอนุกรมวิธานสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา จากการศึกษาสามารถรวบรวมตัวอย่างและข้อมูลฟองน้ำทะเลได้ทั้งหมด 142 ข้อมูลและตัวอย่างที่นำมาทำการจำแนกชนิดเป็นหลักฐานอ้างอิง 73 ตัวอย่างและตัวอย่างฟองน้ำที่ส่งต่อยอดในการศึกษาทางเคมีและจุลชีววิทยาอีก 46 ตัวอย่าง พบฟองน้ำทะลจำแนกชนิดได้เบื้องต้น จำนวน 48 ชนิด จาก 33 สกุล 25 วงศ์ 15 อันดับ ฟองน้ำที่พบเป็นครั้งแรกในน่านน้ำไทยจำนวน 1 ชนิด ได้แก่ ฟองน้ำกิ่งสีดำ, Jaspis cf. stellifera (Carter, 1879) นอกจากนี้ พบฟองน้ำทะเลที่ยังไม่เคยพบในพื้นที่หมู่เกาะชุมพร 6 ชนิด ได้แก่ ฟองน้ำตับไก่, Plakortis communis Muricy, 2011, ฟองน้ำลูกกอล์ฟหนาม, Craniella abracadabra de Laubenfels, 1954, ฟองน้ำหนังสีดำลาย, Chondrosia reticulata (Carter, 1886), ฟองน้ำเคลือบส้ม, Dragmacidon australe (Bergquist, 1970), ฟองน้ำเคลือบใสส้ม, Mycale (Carmia) sp. “orange” และฟองน้ำหนามสีน้ำตาล, Callyspongia (Toxochalina) pseudofibrosa (Desqueyroux-Faúndez, 1984) ฟองน้ำทะเลที่พบเป็นชนิดเด่นและพบแพร่กระจายมากที่สุดคือ ฟองน้ำท่อพุ่มสีแดง, Oceanapia sagittaria (Sollas, 1888) และฟองน้ำเคลือบสีฟ้า, Gelliodes petrosioides Dendy, 1905 รองลงมาคือ ฟองน้ำสีน้ำตาลม่วง, Petrosia (Petrosia) hoeksemai de Voogd & van Soest, 2002; ฟองน้ำครก, Petrosia (Petrosia) lignosa; ฟองน้ำยืดหยุ่นสีดำ, Cacospongia sp. “black” และฟองน้ำเปลี่ยนสีสีเหลือง, Pseudoceratina sp. “yellow” รูปทรงการเจริญเติบโตของฟองน้ำทะเลที่พบเป็นชนิดเด่นเป็นฟองน้ำที่มีรูปทรงการเจริญเติบโตเป็นแบบเคลือบและมีความหลากหลาย 47% ของชนิดฟองน้ำที่พบทั้งหมด กลุ่มของฟองน้ำที่พบมากที่สุดคือ Order Haplosclerida (18 ชนิด) รองลงมาคือ Order Poecilosclerida (5 ชนิด) สถานีส้ารวจที่พบฟองน้ำหลากหลายชนิดมากที่สุดคือ SAK58 (เกาะสาก ทิศตะวันตก) พบฟองน้ำทะเล 20 ชนิด รองลงมาคือ สถานี NGAMN58 (เกาะง่ามน้อย ทิศตะวันตก) พบฟองน้ำทะเล 19 ชนิด ฟองน้ำที่พบส่วนมากนี้เป็นฟองน้ำที่พบทั่วไปตลอดแนวชายฝั่งทะเลในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 th
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject ความหลากหลายทางชีวภาพ th_TH
dc.subject ฟองน้ำทะเล th_TH
dc.subject สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา th_TH
dc.title ความหลากหลายทางชนิดของฟองน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนกลาง th_TH
dc.title.alternative Species diversity of marine sponges along the central Gulf of Thailand en
dc.type Research
dc.year 2559
dc.description.abstractalternative Species diversity of marine sponges was investigated from Chumphon Islands, in Chumphon province of the species diversity of marine sponges along the central Gulf of Thailand research project of fiscal year 2015. Collections were conducted from 9 collection sites, during 23-27 February, 2015. The collections were carried out by SCUBA and skin diving during daytime and the observations were randomly collected throughout all collection sites. One hundred and forty two sponge data were recorded, 73 specimens were collected and preserved for reference materials and 46 specimens were provided to chemical and microbiological examination. The results showed 48 marine sponge species from 15 orders, 25 families and 33 genera. Out of these, one species, Jaspis cf. stellifera (Carter, 1879) was the new record of Thai Waters and six species, namely, Plakortis communis Muricy, 2011, Craniella abracadabra de Laubenfels, 1954, Chondrosia reticulata (Carter, 1886), Dragmacidon australe (Bergquist, 1970), Mycale (Carmia) sp. “orange” and Callyspongia (Toxochalina) pseudofibrosa (Desqueyroux-Faúndez, 1984) were new recorded in Chumphon Islands. The most abundance and distributed sponges in the study area were namely, Oceanapia sagittaria (Sollas, 1888) and Gelliodes petrosioides Dendy, 1905 followed by Petrosia (Petrosia) hoeksemai de Voogd & van Soest, 2002; Petrosia (Petrosia) lignosa; Cacospongia sp. “black” and Pseudoceratina sp. “yellow” respectively. Order Haplosclerida (18 species) was the most abundance sponge group, follow by order Poecilosclerida (8 species). The encrusting growth form (47% of total sponge specimens) was the most distributed in the study area. The most diversity of sponge collection site was SAK58 (west side of Sak Island) found 20 species followed by NGAMN58 (west side of Ngamnoi Island) found 19 species. Moreover, most species were found commonly in the Gulf of Thailand and the South China Sea en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account