dc.contributor.author | สายฝน ม่วงคุ้ม | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:09:55Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:09:55Z | |
dc.date.issued | 2559 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1892 | |
dc.description.abstract | ปัญหาภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของผู้เป็นเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของผู้เป็นเบาหวานทั่วโลก และในประเทศไทย ซึ่งภาระในการดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วย ครอบครัว และประเทศชาติอย่างมาก การวิจัยเชิงบรรยายแบบหาความสัมพันธ์ (Descriptive correlation research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราชุกของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังทั้งหลอดเลือดแดงขนาดเล็กและขนาดใหญ่และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงและขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอกในเขตภาคตะวันออก ของประเทศไทย ได้แก่ โรงพยาบาลระยอง โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลพุทธโสธร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว โรงพยาบาลบางละมุง โรงพยาบาลบ้านบึง โรงพยาบาลเขาสมิง โรงพยาบาลบ่อไร่ โรงพยาบาลสอยดาว โรงพยาบาลเขาคิชกูฏ และโรงพยาบาลแปลงยาว จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินระบบประสาทรับความรู้สึกที่เท้า ตรวจระบบไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงเท้า และแบบบันทึกผลตรวจตา แบบบันทึกเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและข้อมูลการเจ็บป่วย แบบวัดความรู้เรื่องโรคเบาหวาน แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบบสอบถามการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมแบบพหุมิติ แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลเท้าและแบบสอบถามการจัดการตนเองสำหรับผู้เป้นเบาหวาน วิเคราะห์ข้อมุลโดยหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบลอจิสติคทีละตัวแปรและหลายตัวแปร 9binary Logistic Regression Univariable and multivariable) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% Cl ผลการศึกษาพบว่า อัตราชุกของ (Prevalence) ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก 236 ราย คิดเป็นร้อยละ 67.43 (95%Cl: 62.9% ถึง 72.36%) และอัตราชุกของภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ 168 ราย คิดเป็นร้อยละ 48.00% (95%Cl: 42.74% to 53.26%) ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติคทีละตัวแปร พบว่า อายุ ระยะเวลาการเป้นเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสม ระดับไขมันคลอเรสเตอรอล ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ความดันโลหิต และดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดอดงขนาดเล็กมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<. 05) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติคหลายตัวแปร พบว่า อายุ ระยะเวลาการเป้นเบาหวาน ระดับน้ำตาลสะสม ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และความดันโลหิต มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ ถารวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติคทีละตัวแปร พบว่า อายุ เพศ ระยะเวลาการเป้นเบาหวาน สูบบุหรี่ อัตราการกรองของไต ระดับน้ำตาลสะสมไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ ระดับ HDL และดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติคหลายตัวแปร พบว่าอายุ ระยะเวลาการเป็นเบาหวาน อัตราการกรองของไต (Glomerular filtration rate) ไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ และดัชนีมวลกาย มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) จากผลการวิจัย จะเห็นว่าปัจจัยด้านสรีวิทยา และด้านสุขภาพมีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กและหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ ของผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การศึกษานี้สนับสนุนนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้มีการตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อนได้แก่ตรวจ ตา ไตหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงเท้า ตรวจประสาทระบความรู้สึกที่เท้า ให้กับผู้เป้นเบาหวานอย่างต่อเนื่อง และทีมสุขภาพควรให้ความสำคัญในการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป้นเบาหวานมากกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุคนอ้วน เสนอแนะให้ทีมบุคลากรทางการแพทย์ ให้การดูแลผู้เป็นเบาหวานกลุ่มนี้อย่างเข้มงวด เพื่อชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดง | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ผู้ป่วยเบาหวาน | th_TH |
dc.subject | โรคแทรกซ้อน | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | รูปแบบการจัดการตนเองในการชะลอภาวะแทรกซ้อนของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เขตภาคตะวันออก ของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Self-management model to delay complications among persons with type 2 diabetes in Eastern region, Thailand | en |
dc.type | งานวิจัย | |
dc.author.email | saifone@buu.ac.th | |
dc.year | 2559 | |
dc.description.abstractalternative | The problems on chronic complications for the people with diabetes have been tending to increase in number around the world and in Thailand, leading to the burdens for the cares and the treatments of those with such complications. This, therefore, would yield much effect on the patients, their families and the nation at large. As a consequence, this descriptive correlational research aimed at investigating the prevalence of the complications for both small and large arteries as well as determining the factors influencing the mentioned complications for 350 patients with type 2 diabetes, who received the services at the Out Patient Department (OPD) of diabetes clinics in Thailand’s eastern region comprising those in the following Hospitals: Rayong, Chonburi, Buddhasodhorn, Som Dej Phra Yupparaj at Sra Kaew, Bang Lamung, Ban Bueng, Khao Saming, Bor Rai, Sroi Dao, Khao Kitchakood, and Plaeng Yao. Instruments used for this research were as follows: the Monofilament 10 gram for evaluating the sensory protection of foot, Ankle brachial index, records of the patients’ eyes inspections, records of the patients’ general and illness data, diabetes knowledge assessment forms, self-efficacy perception assessment forms for diabetes patients, questionnaires on multi-dimensional social support perception, questionnaires on foot-care behaviors, and questionnaires on diabetes patients’ self-management. Statistics used for analyzing the research data were: percentage, average scores, standard deviation, and, Binary Logistic Regression Unavailable and Multivariable, at the reliability value of 95% CI. The findings revealed that there were 236 cases having the complications for small arteries, calculated as 67.43% (95%CI: 62.49% to 72.36%), whereas, there were 168 cases having the complications for large arteries, calculated as 48.00% (95%CI:42.74% to 53.26%). In regard to the complications for small arteries of the diabetes patients, it was found from the data analyses by using Binary Logistic Regression Univariable that there were relationships between the following variables: age, duration of diabetes, accumulated sugar level, lipid cholesteros level, triglycerides level, blood pressure, body mass index, and the complications as such, with statistical significance (p<. 050. and, with the same regard, it was found from the data analyses by using Binary Logistic Regression Multivariable that there were relationships between the following variables: age, duration of diabetes, HbA1C, triglycerides level, blood pressure, and the complications as such with statistical significance (p<.05). In regard to the complications for large arteries of the diabetes patients, it was found from the data analyses by using Binary Logistic Regression Univariable that there were relationships between the following variables: age, gender, duration of diabetes, cigarette smoking, Glomerular filtration rate, HbA1C, triglycerides level, HDL level, body mass index, and the complications as such, with statistical significance (p<.05), and with the same regard, it was found from the data analyses by using Binary Logistic Regression Multivariable that there were relationships between the following variables: age, duration of diabetes, Glomerular filtration rate, triglycerides level, body mass index, and the complications as such with statistical significance (p<.05). From the findings, it appears that physiological and health factors had an impact on the chronic complications for both small and large arteries of the patients with the type 2 diabetes. As a results, this research would support the national health assurance policy so that there should be a continuing audit or evaluation inspection for the complications of the diabetes patients such as checking the eyes, kidneys, blood vessels feeding a foot, and nerve-feeling system of a foot. Medical screening For the complications should be, hence, highly prioritized by a tram of health personnel, especially for those having diabetes for more than five years, the elderly, and the obese. It is also recommended to provide a term of medical personnel for rigorous cares of people with diabetes in order to delay the complications of the arteries | en |